Support
4life Immunity
0816516654
Your shopping cart
ดูตะกร้าสินค้าของคุณ
ไม่มีสินค้าในตะกร้าของคุณ

มะเร็งที่ศีรษะและลำคอ

วันที่: 11-08-2010

 


อาจเป็นเพราะปัจจุบันเรามีการใช้โทรศัพท์มือถือกันมากหรือเปล่าไม่ทราบ
เราพบว่ามีผู้ป่วยมะเร็งบริเวณศีรษะและลำคอ ในอัตราที่สูงขึ้น


มะเร็งบริเวณศีรษะและลำคอ
               เมื่อกล่าวถึงโรคมะเร็งบริเวณศีรษะและลำคอแล้ว เชื่อว่าหลายๆ คนคงไม่ได้รับทราบข้อมูลในเรื่องนี้เท่าไรนัก เนื่องจากโรคนี้อาจไม่ได้เป็นมะเร็งที่พบมากในอันดับต้นๆ แต่ไม่ว่าจะพบมากหรือน้อยผู้ป่วยก็ควรที่จะไ้ดรับการดูแลอย่างดีที่สุด ผมจึงลองรวบรวมข้อมูลมาให้ศึกษากันดูแนะครับ

การรักษามะเร็งบริเวณศีรษะและลำคอมีวิธีใดบ้าง แต่ละวิธีมีข้อดีหรือข้อเสียอย่างไร
               วิธีการรักษามะเร็งบริเวณศีรษะและลำคอมีหลายวิธี เช่น การผ่าตัด การฉายรังสี และเคมีบำบัด ซึ่งการใช้การรักษาจะใช้วิธีใดขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น ชนิด ตำแหน่ง และขนาดของมะเร็ง ระยะของโรค รวมทั้งสภาพร่างกายของผู้ป่วย เป็นต้น ซึ่งการรักษาแต่ละวิธีก็จะมีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันไป กล่าวคือ

  • การผ่าตัด  ใช้ในการรักษามะเร็งระยะที่ยังไม่ลุกลามหรือแพร่กระจาย และอยู่ในตำแหน่งที่สามารถผ่าตัดได้ ซึ่งวิธีนี้จะทำให้มีโอกาสหายจากโรคสูงถ้าเป็นมะเร็งในระยะเริ่มต้น แต่หากไม่สามารถผ่าตัดอาจทำให้เกิดการสูญเสียหน้าที่ของอวัยวะบริเวณที่ผ่า ตัด เช่น พูดลำบากหลังผ่าตัดกล่องเสียง หรือมีความผิดปกติบริเวณที่ผ่าตัด ทำให้รูปลักษณ์ของผู้ป่วยเสียไป
  • การฉายรังสี  ถือเป็นการรักษาหลักของมะเร็งที่หลังโพรงจมูกซึ่งจะได้ผลดีในระยะเริ่มต้น หากเป็นระยะท้ายๆ อาจต้องใช่ร่วมกับเคมีบำบัด นอกจากนี้การฉายรังสียังเป็นการรักษาที่สำคัญในผู้ป่วยระยะแรกๆ ที่ต้องการรักษาอวัยวะบริเวณนั้นไว้ เช่น มะเร็งกล่องเสียงระยะเริ่มต้น และยังให้ฉายรังสีในมะเร็งเหล่านี้หลังการผ่าตัด การรักษาด้วยการฉายรังสีผู้ป่วยต้องดูแลสุขภาพภายในช่องปากให้ดี เพราะการฉายรังสีอาจทำให้ฟันผุได้ นอกจากนี้ยังอาจพบผลข้างเคียงอื่น เช่น ปากแห้ง น้ำลายเหนียว เจ็บปากและลำคอ กลืนลำบาก เป็นต้น ซึ่งอาการเหล่านี้จะเกิดน้อยลงในรายที่เป็นระยะเริ่มต้นหรือการใช้เทคนิคที่ ดีขึ้นในการฉายรังสี
  • เคมีบำบัด  ส่วนใหญ่อยู่ในรูปยาฉีดหรือให้ทางสายน้ำเกลือ อาจใช้ก่อนหรือหลังการผ่าตัด หรือใช้ร่วมกับการฉายรังสีโดยทั่วไป ซึ่งจะมีประสิทธิภาพดีกว่าฉายรังสีเพียงอย่างเดียว แต่ยาจะมีผลต่อเซลล์ปกติทั่วร่างกายนอกเหนือจากเซลล์มะเร็งด้วย จึงพบผลข้างเคียงเช่นกัน เช่น เม็ดเลือดขาวลดลง ทำให้ติดเชื้อง่าย เจ็บและมีแผลในช่องปาก คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย เป็นต้น

               โดยทั่วไปการรักษามะเร็งบริเวณศีรษะและลำคอส่วนใหญ่ใช้การผ่าตัดและฉายรังสี แต่อาจใช้เคมีบำบัดร่วมด้วย ซึ่งแพทย์จะอธิบายเกี่ยวกับโรคที่เป็นอยู่และแนะนำวิธีการรักษาที่เหมาะสม สำหรับผู้ป่วยแต่ละราย

วิธีการรักษาข้างต้นมีผลกระทบต่อผู้ป่วยและส่งผลต่อการรักษาอย่างไรบ้าง
               เนื่องจากผู้ป่วยมักมาพบแพทย์เมื่อมีอาการมากแล้ว การรักษาจึงมักต้องใช้หลายวิธีร่วมกัน ซึ่งผลข้างเคียงก็จะมากขึ้นด้วย โดยเฉพาะผู้ป่วยที่ฉายรังสีร่วมกับเคมีบำบัดจะพบผลข้างเคียงระยะหลังๆที่ สำคัญคือ ปัญหากลืนลำบากที่อาจนำไปสู่ภาวะขาดอาหาร ทำให้แพทย์ต้องใส่สายทางจมูกหรือเจาะหน้าท้องใส่สายเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับ อาหารมากขึ้น โดยมีผู้ป่วยประมาณร้อยละ 10-15 ที่ต้องใส่สายดังกล่าวไปตลอด นอกจากนี้ยังพบว่ามีผู้ป่วยที่ทนต่อผลข้างเคียงจากการรักษาไม่ได้จนต้องหยุด ยา ทำให้รักษาไม่ต่อเนื่อง ผลการรักษาจึงไม่ดีเท่าที่ควร ปัจจุบันจึงมีทางเลือกใหม่ที่ลดผลข้างเคียงจากวิธีการรักษาอื่นๆ ซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วยทนต่อผลข้างเคียงได้ดีขึ้น ทำให้ผลการรักษาดีขึ้นได้

ทางเลือกใหม่ในการรักษาผู้ป่วยมะเร็งบริเวณศีรษะและลำคอเป็นอย่างไร
               ปัจจุบันมียาใหม่ที่สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งโดยตรงที่ เรียกว่า ยาที่จำเพาะเจาะจงต่อเซลล์มะเร็ง (targeted therapy) กลไกการออกฤทธิ์ของยานี้คือไปจับกับตัวรับสัญญาณที่กระตุ้นการเจริญเติบโต ของเซลล์มะเร็งซึ่งอยู่บริเวณผิวเซลล์ (epidermal growth factor receptor : EGFR) ทำให้สารกระตุ้นการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งจับกับ EGFR ไม่ได้ เซลล์มะเร็งจึงไม่สามารถแบ่งตัวหรือเจริญเติบโตได้อีก เรียกว่าเป็นยาต้าน GEFR แบบโมโนโคลนอล แอนติบอดี (anti-GEFR monoclonal antibody) โดยใช้เป็นการรักษาสำหรับผู้ป่วยมะเร็งบริเวณศีรษะและลำคอในระยะลุกลามเฉพาะ ที่ (locally advanced) ร่วมกับการฉายรังสี ใช้เวลาในการรักษาประมาณ 6-7 สัปดาห์ ซึ่งพบว่าให้ผลการรักษาและเพิ่มอัตราการอยู่รอดโดยรวมของผู้ป่วยได้เทียบ เท่ากับการฉายรังสีร่วมกับเคมีบำบัด แต่ผู้ป่วยจะได้รับผลข้างเคียงน้อยลง นอกจากนี้มีการศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการเกี่ยวกับประโยชน์ของการใช้ยา ที่จำเพาะเจาะจงต่อเซลล์มะเร็งร่วมกับการฉายรังสีในผู้ป่วยมะเร็งบริเวณ ศีรษะและลำคอในระยะลุกลามเฉพาะที่เปรียบเทียบกับการฉายรังสีเพียงอย่างเดียว พบว่า ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาดังกล่าวจะมีระยะเวลาในการอยู่รอดนานกว่า มีอัตราการอยู่รอดโดยรวมสูงกว่า ควบคุมการลุกลามของเซลล์มะเร็งและมีการหายจากโรคดีกว่า รวมทั้งมีอัตราการกลับเป็นซ้ำของโรคต่ำกว่า เรียกได้ว่าเป็นทางเลือกใหม่ี่นอกจากจะเพิ่มปประสิทธิภาพการรักษาแล้ว ยังช่วยลดปัญหาความไม่ร่วมมือในการรักษาอันเนื่องมาจากผลข้างเคียงจากยาเคมี บำบัดได้

การรักษาด้วยวิธีนี้มีผลข้างเคียงอย่างไรบ้างและสามารถป้องกันหรือแก้ไขได้อย่างไร
               ผลข้างเคียงส่วนใหญ่ที่พบคือ เกิดผื่นคล้ายสิวบริเวณร่างกายหรือใบหน้า ซึ่งจะหายได้เองหลังการรักษา ซึ่งผู้ป่วยอาจใช้ยาทาหรือยารับประทานแล้วแต่กรณีเพื่อแก้ไขปัญหานี้ เช่น หากติดเชื้อแพทย์ก็จะให้ยาปฏิชีวนะด้วย นอกจากนี้การใช้ร่วมกับการฉายรังสีก็จะพบอาการข้างเคียงจากรังสีดังที่กล่าว แล้วข้างต้น ดังนั้นก่อนการรักษาผู้ป่วยจะต้องจัดการปัญหาในช่องปากให้เรียบร้อยก่อน เช่น อุดฟันหรือรักษารากฟัน ระหว่างและหลังการรักษาต้องดูแลสุขภาพช่องปากอย่างดี และควรพบทันตแพทย์ทุก 2-3 เดือนหลังการรักษา โดยทันตแพทย์อาจเคลือบฟลูออไรด์ให้เพื่อสุขภาพฟันที่แข็งแรงขึ้น

การใช้ยาที่จำเพาะเจาะจงต่อเซลล์มะเร็งร่วมกับการฉายรังสีเหมาะกับผู้ป่วยในกลุ่มใดบ้าง
               ในผู้ป่วยที่ไม่สามารถทนต่อผลข้างเคียงจากเคมีบำบัดได้เนื่องจากสภาพร่างกาย ไม่แข็งแรงพอ โดยเฉพาะผู้สูงอายุ อาจใช้ยาที่จำเพาะเจาะจงต่อเซลล์มะเร็งร่วมกับการฉายรังสีเพื่อลดผลข้าง เคียงต่างๆ ลง เหตุผลอีกประการคือ การฉายรังสีร่วมกับเคมีบำบัดในผู้ป่วยที่อายุมากกว่า 70 ปี มักให้ผลการรักษาที่ไม่น่าพอใจเท่าที่ควร วิธีนี้จึงถือเป็นทางเลือกที่ดีอีกทางหนึ่ง นอกจากนี้ยังเหมาะในผู้ป่วยที่มีไตไม่ค่อยดี ทำให้ไม่สามารถรับยาเคมีบำบัดได้

คำแนะนำสำหรับผู้ดูแลผู้ป่วยเกี่ยวกับโรคมะเร็งบริเวณศีรษะและลำคอ
               ผู้ดูแลสามารถป้องกันหรือบรรเทาผลข้างเคียงจากการรักษาให้กับผู้ป่วยได้โดย การเลือกและเตรียมอาหารให้เหมาะสมกับผู้ป่วย ดูแลสุขภาพช่องปากโดยเลือกผลิตภัณฑ์ที่อ่อนโยนต่อเยื่อบุในช่องปาก เช่น แปรงสีฟันที่มีขนอ่อนนุ่ม ใช้น้ำยาบ้วนปากที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์ ไม่สูบบุหรี่หรือดื่มสุรา พาผู้ป่วยไปพบแพทย์และทันตแพทย์ตามนัด มีส่วนร่วมในการออกกำลังกายเบาๆ สร้างบรรยากาศให้ผู้ป่วยรู้สึกผ่อนคลาย เป็นต้น

ข้อมูลจาก รศ.นพ.วิชาญ  หล่อวิทยา
อาจารย์ประจำภาควิชารังสีวิทยา
คณะแพทย์ศาสตร์  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่



ถาม & ตอบ

ถาม: อยากทราบว่าญาติได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งที่กล่อมเสียงในระยะที่มีการ ลุกลามเฉพาะที่ (locally advanced) แต่ยังไม่มีการแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่น ควรใช้การรักษาแบบใด และจะต้องรักษาเป็นระยะเวลานานเท่าใด?
ตอบ: การรักษามะเร็งกล่องเสียงในระยะที่มีการลุกลามเฉพาะที่ (locally advanced) โดยที่ยังไม่พบว่ามีการแพร่กระจายของโรคไปอวัยวะอื่น แพทย์จะวางแผนการรักษาเพื่อหวังผลให้หายขาดโดยการควบคุมโรคเฉพาะที่ และลดโอกาสการกำเริบของโรค นอกจากนี้ยังต้องคำนึงถึงคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยหลังการรักษาคือ พยายามทำให้ผู้ป่วยมีกล่องเสียงและพูดคุยได้เหมือนปกติ การรักษาหลักซึ่งเป็นมาตรฐานที่ใช้ในปัจจุบันคือการใช้เคมีบำบัดร่วมกับการ ฉายรังสีและให้การผ่าตัดเสริมเฉพาะกรณีที่การตอบสนองของมะเร็งไม่สมบูรณ์ (incomplete response) ซึ่งโดยทั่วไปการรักษาด้วยเคมีบำบัดร่วมกับการฉายรังสีจะใช้เวลาในการรักษา ต่อเนื่องเป็นระยะเวลาประมาณ 6.5-7.5 สัปดาห์ การให้ยาเคมีบำบัดอาจพิจารณาให้แบบชุดทุก 3 สัปดาห์ เป็นจำนวน 3 ชุด หรืออาจให้สัปดาห์ละครั้งเป็นเวลา 6 สัปดาห์ ส่่วนการฉายรังสีจะทำวันละครั้ง สัปดาห์ละ 5 วัน เป็นระยะเวลา 6.5-7.5 สัปดาห์

ถาม: ญาติเป็นมะเร็งบริเวณศีรษะและลำคอ กลัวผลข้างเคียงจากเคมีบำบัด อยากทราบว่าการฉายรังสีร่วมกับการใช้ยาที่ออกฤทธิ์จำเพาะเจาะจงต่อเซลล์ มะเร็ง (targeted therapy) มีผลข้างเคียงน้อยกว่าหรือไม่?
ตอบ: จากข้อมูลการศึกษาวิจัยทางการแพทย์ว่า การฉายรังสีร่วมกับการใช้ยาที่ออกฤทธิ์จำเพาะเจาะจงต่อเซลล์มะเร็ง มีอัตราการเกิดผลข้างเคียงและมีความรุนแรงน้อยกว่าการฉายรังสีร่วมกับการใช้ เคมีบำบัด อย่างไรก็ตามยังไม่มีข้อมูลการศึกษาเปรียบเทียบโดยตรงทางด้านประสิทธิภาพการ รักษาด้วยการฉายรังสีร่วมกับการใช้ยาที่ออกฤทธิ์จำเพาะเจาะจงต่อเซลล์มะเร็ง กับการฉายรังสีร่วมกับการใช้เคมีบำบัด มีเพียงการศึกษาเปรียบเทียบกับการฉายรังสีเพียงอย่างเดียว พบว่ามีประสิทธิผลดีขึ้นแต่ก็มีผลข้างเคียงมากขึ้นเล็กน้อย ในทางปฏิบัติจึงใช้การฉายรังสีร่วมกับการใช้ยาที่ออกฤทธิ์จำเพาะเจาะจงต่อ เซลล์มะเร็งในผู้ป่วยสูงอายุที่ไม่สามารถรับยาเคมีบำบัดได้

ถาม: อยากทราบว่าผลข้างเคียงของการรักษาด้วยการฉายรังสีร่วมกับการใช้ยาที่ออก ฤทธิ์จำเพาะเจาะจงต่อเซลล์มะเร็งมีอะไรบ้าง และจะจัดการกับผลข้างเคียงอย่างไร สามารถรักษาผลข้างเคียงให้หายได้หรือไม่?
ตอบ: ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการรักษาด้วยการฉายรังสีร่วมกับการใช้ยาที่ออก ฤทธิ์จำเพาะเจาะจงต่อเซลล์มะเร็งในผู้ป่วยมะเร็งบริเวณศีรษะและลำคอ ได้แก่ เยื่อบุอักเสบ ผิวหนังอักเสบ เจ็บคอ กลืนลำบาก ส่วนอาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากยาที่ออกฤทธิ์จำเพาะเจาะจงต่อเซลล์ มะเร็ง คือ มีผื่นลมพิษหรือปฏิกิริยาทางผิวหนังลักษณะคล้ายสิว ผิวแห้งคัน ซึ่งสามารถรักษาได้และจะหายไปหลังจากการรักษา ส่วนอาการข้างเคียงอื่นๆ ที่อาจพบได้บ้าง เช่น มีไข้ หนาวสั่น คลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะ หรือหายใจลำบากจากหลอดลมหดตัว เป็นต้น อาจป้องกันโดยให้ผู้ป่วยได้รับยาแก้แพ้ (antihistamine) ก่อนการให้ยา และหากมีอาการแพ้ยาแพทย์ก็จะพิจารณาหยุดการใช้ยาทันที ซึ่งการดูแลรักษาอาการข้างเคียงของยาหรืออาการแพ้ยาที่ถูกต้องจะทำให้ผู้ ป่วยหายกลับเป็นปกติได้

...............................................................


อาหารสำหรับผู้ป่วยมะเร็ง บริเวณศีรษะและลำคอ  (คุณแววตา  เอกชาวนา นักกำหนดอาหาร)
               อาหารของโรคและอาการข้างเคียงจากการรักษามะเร็งบริเวณศีรษะและลำคอ เช่น มีแผลในปาก เคี้ยวอาหารและกลืนลำบาก คลื่นไส้ อาเจียน การรับรสเปลี่ยนไป ระบบภูมิต้านทานลดลง ติดเชื้อง่ายขึ้น ล้วนเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะโภชนาการของผู้ป่วยและอาจทำให้ผู้ป่วยขาดสาร อาหารได้ การเลือกอาหารที่สะอาด มีประโยชน์และมีคุณค่าทางโภชนาการให้กับผู้ป่วยจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้ ร่างกายของผู้ป่วยได้รับสารอาหารที่จำเป็นเพียงพอ ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรง เพิ่มภูมิต้านทาน ลดอาการข้างเคียง และทำให้แผนการรักษาของแพทย์มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

หลักในการเลือกหรือปรุงอาหารที่สำหรับผู้ป่วยมะเร็งบริเวณศีรษะและลำคอ

  • เลือก อาหารที่มีความชุ่มชื้น อ่อนนุ่ม ย่อยง่าย และหั่นเป็นชื้นเล็กๆ เพื่อสะดวกในการเคี้ยวและกลืน เช่น ข้าวสวยนิ่มๆ ข้าวต้น เกี๊ยว ขนมปัง ฟักทอง มันฝรั่ง สาคู วุ้นเส้น เนื้อปลา อกไก่ไม่ติดหนัง นมสดหรือนมถั่วเหลือง เต้าหู้อ่อนและควรปรุงอาหารด้วยการต้น นึ่ง ผัด ย่าง และอุ่นให้ร้อนก่อนเสิร์ฟทุกครั้งเพื่อป้องกันการติดเชื้อ แต่สำหรับเนื้อสัตว์ไม่ควรใช้เวลาปรุงนานเพราะจะทำให้เนื้อสัตว์แข็งกระด้าง กลืนยาก เคี้ยวลำบาก
  • ควรให้ผู้ป่วยรับประทานไข่เป็นประจำอย่างน้อย สัปดาห์ละ 2-3 ฟอง เพื่อช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อให้ร่างกาย ในกรณีที่ผู้ป่วยเหม็นกลิ่นอาหาร ให้เพิ่มไข่ขาวในอาหาร เช่น ผสมในซุป หรือผสมในข้าวต้ม เป็นต้น
  • จัดให้มีผักในทุกมื้ออาหาร อย่างน้อยวันละ 3 สี เช่น ฟักเขียว แครอท บวบ น้ำเต้า ผักกาดขาว กะหล่ำปลี เห็ดต่างๆ หลีกเลี่ยงผักดิบ ผักที่มีใบหยาบ มีกลิ่นฉุนหรือมีรสเผ็ดร้อน เช่น ขิง ต้นกุยช่าย ผักกระเ
    ฉด พริก เพราะอาจทำให้ระคายเคืองในช่องปากได้
  • เลือก ผลไม้ที่สุกจัด ไม่แข็ง เช่น มะละกอสุก กล้วย แตงโม มะม่วงสุก ฝรั่งสุกนิ่ม แตงไทย และล้างให้สะอาดทุกครั้ง หรืออาจให้ผู้ป่วยผลไม้ นมปั่นผสมผลไม้ ไม่ควรซื้อผลไม้ที่ตัดเป็นชิ้นไว้แล้วหรือผลไม้ในรถเข็น ผลไม้ที่มีเมล็ดมากและผลไม้หมักดอง เพราะอาจเสี่ยงต่อการติดเชื้อเพิ่มขึ้น
  • ใช้ น้ำมันที่มีคุณภาพดีในการปรุงอาหาร เช่น น้ำมันมะกอก น้ำมันรำข้าว น้ำมันถั่วเหลือง หรือน้ำมันทานตะวัน (ดีที่สุดคือ น้ำมันมะกอก) เพื่อช่วยสร้างภูมิต้านทานให้กับร่างกาย เพิ่มน้ำหนักให้กับผู้ป่วยที่มีน้ำหนักตัวน้อย และช่วยให้ร่างกายดูดซึมวิตามินเอ ดี อี เค ได้ดี ปริมาณที่แนะนำคือวันละ 3-4 ช้อนโตีะ
  • ไม่ควรให้ผู้ป่วยดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนและ แอลกอฮอล์เป็นส่วนผสม เพราะอาจทำให้ระคายเคืองในช่องปากและขัดขวางการดูดซึมสารอาหารอื่นๆ ที่จำเป็นต่อร่างกายได้

ตัวอย่างเมนูอาหาร: มัน บด ผัดฟักทอง ซุปสาคู ผัดวุ้นเส้น โจ๊ก ซาลาเปาไส้ครีม เต้าหู้อ่อนนึ่งซีอิ๊ว ปลาต้มเค็ม สตูว์ไก่ ไข่ตุ๋นนมสด ปลาย่าง ผัดบวบใสไข่ จับฉ่าย แกงจืดผักกาดขาว ซุปผักโขม กะหล่ำปลีตุ๋น แกงจืดแตงกวาสอดไส้


การดูแลสุขภาพในช่องปากเมื่อต้องฉายรังสี
  ข้อมูลจากพ.ต.ต.ทพ.พจนารถ  พุ่มประกอบศรี
การ รักษาโรคมะเร็งบริเวณศีรษะและลำคอด้วยการฉายรังสี อาจมีผลต่อฟัน เหงือก ต่อมน้ำลาย และเนื้อเยื่อในช่องปาก ซึ่งสร้างความไม่สบายหรือเจ็บปวดจนทำให้ผู้ป่วยมีการเตรียมตัวและทำความเข้า ใจถึงวิธีการปฏิบัติตัวในการดูแลสุขภาพในช่องปาก ก็จะทำให้ไม่ทรมานจากการเจ็บปวด และมีกำลังใจที่จะต่อสู้กับโรคภัยต่อไป

ผลข้างเคียงในช่องปากจากการฉายรังสี

  • มีอาการอักเสบและเป็นแผลบริเวณเยื่อบุในช่องปาก
  • มีอาการปวดในปากและปวดเหงือก
  • มีโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อในช่องปากได้ง่าย
  • ประสิทธิภาพในการรับประทาน พูด กลืน เสียไป
  • มีฟันผุได้ง่าย
  • มีอาการปวดแสบปวดร้อนบริเวณลิ้น
  • ขากรรไกรเคลื่อนตัวลำบาก
  • การรับรสเสียไป
  • มีอาการปากแห้ง เนื่องจากต่อมน้ำลายทำงานได้น้อยกว่าปกติ
  • ได้รับสารอาหารไม่พอเพียงเนื่องจากรับประทานได้ไม่เหมือนก่อน

               จากผลการเปลี่ยนแปลงในช่องปากเหล่านี้ อาจทำให้ผู้ป่วยหลายรายขาดกำลังใจ ท้อแท้ต่อการรักษา แต่จริงๆ แล้วสิ่งต่างๆ ที่เป็นผลข้างเคียงนี้เราสามารถควบคุมได้

หมายเหตุ จากที่เคยพบ ฉายรังสีแล้วต่อมน้ำลายผลิตน้ำลายได้น้อยมาก และกลับมาผลิตได้ดังเดิมยากมากๆครับ คุณพ่อของผมต่อมน้ำลายผลิตได้น้อยมาก กลืนอาหารลำบาก จนเสียชีวิตเพราะลามไปที่ตับครับ

ก่อนเข้ารับการฉายรังสี
               เมื่อผู้ป่วยทราบว่าจะต้องเข้ารับการฉายรังสี ควรพบทันตแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพในช่องปากว่ามีโรคเหงือกอักเสบ ฟันผุ รากฟันค้าง หรือมีฟันต้องถอนหรือไม่ ถ้ามีจะต้องได้รับการรักษาก่อนทุกครั้ง

ระหว่างการรักษาและหลังเข้ารับการฉายรังสี
               การดูแลรักษาความสะอาดในช่องปากเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องทำให้ดีและสม่ำเสมอ ทั้งในระหว่างการรักษาและหลังเข้ารับการฉายรังสี โดยการ

  • แปรงสีฟันหลังอาหารทุกมื้อด้วยยาสีฟันที่ผสมฟลูออไรด์ และให้แปรงสีฟันที่มีขนอ่อนนุ่ม
  • ใช้ไหมขัดฟันทำความสะอาดซอกฟันทุกซี่่
  • อาจใช้น้ำยาบ้วนปากร่วมด้วย โดยเลือกน้ำยาบ้วนปากที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์
  • แปรงลิ้นเพื่อกำจัดฝ้าและเศษอาหาร โดยใช้แปรงสีฟันที่มีขนอ่อนนุ่มถูเบาๆ หรือใช้เครื่องมือสำหรับขูดลิ้น แต่ต้องทำด้วยความระมัดระวัง

               สำหรับผู้ป่วยที่ใส่ฟันปลอมแบบถอดได้ ให้ตรวจเช็คกับทันตแพทย์ว่าฟันปลอมนั้นยังกระชับอยู่หรือไม่ เพื่อป้องกันการเสียดสีกับเนื้อเยื่อที่อาจทำให้เกิดแผลในช่องปาก ส่วนผู้ป่วยที่ใส่ฟันปลอมแบบติดแน่น จะต้องหมั่นทำความสะอาดให้ดี เพราะเศษอาหารอาจเข้าไปขังอยู่ใต้ฐานฟันปลอมได้
               นอกจากนี้ หากผู้ปากมีอาการปากแห้งก็ให้จิบน้ำบ่อยๆ อมน้ำแข็ง หรือเคี้ยวหมากฝรั่ง สำหรับอาหารก็ควรเป็นอาหารที่มีสารอาหารครบทุกหมู่ ลดอาหารพวกทอดกรอบๆ ควรรับประทานอาหารนิ่มๆและอาหารที่ปรุงสุกด้วยการต้ม และสิ่งที่สำคัญที่สุดในผู้ป่วยมะเร็งบริเวณศีรษะและลำคอ คือ ต้องงดเหล้า และบุหรี่อย่างเด็ดขาด
               การดูแลสุขภาพช่องปากที่ดีจะทำให้ปากสะอาด ปราศจากการสะสมของแบคทีเรีย ซึ่งจะทำหลีกเลี่ยงจากฟันผุและโรคเหงือกอักเสบได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ควรต้องเข้ารับการตรวจฟันจากทันตแพทย์เป็นประจำ เพื่อจะได้พบสิ่งผิดปกติตั้งแต่เนิ่นๆ และทำการแ้ก้ไขเพื่อป้องกันไม่ให้โรคลุกลามต่อไป