วันที่: 14-08-2010
เรียน รู้และเข้าใจมะเร็งตับ
มะเร็งตับและท่อน้ำดี เป็นมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับ 1 ของชายไทย และเป็นอันดับ 3 ในเพศหญิง สำหรับคนที่เป็นมะเร็งตับระยะแรกๆ มักจะไม่ปรากฏอาการใดๆ จนกว่าโรคจะดำเนินไปสู้ระยะท้ายๆ โดยอาจใช้ระยะเวลาเป็นเดือนจนถึงหลายปี ขึ้นอยู่กับอัตราการโตของก้อนมะเร็ง บางรายกว่าจะรู้ตัวก็ทำให้เสียโอกาสในการรักษาให้หายขาดไปอย่างน่าเสียดาย ดังนั้นการเรียนรู้และเข้าใจมะเร็งตับจึงมีความจำเป็น ทั้งในแง่การป้องกัน ไปจนถึงการปฏิบัติตัวอย่างถูกวิธีระหว่างการรักษาในกรณีที่ป่วยเป็นมะเร็ง ตับแล้ว
การรับมือเมื่อเป็นมะเร็งตับ
เมื่อแพทย์แจ้งว่าคุณ (คนที่คุณรัก) ป่วยเป็นมะเร็งตับ คุณอาจมีความรู้สึกหลากหลาย ตั้งแต่กลัว สับสน ไม่ยอมรับ ซึมเศร้า สิ่งที่คุณควรทำคือ ตั้งสติให้มั่น ยอมรับความจริง และ เตรียมตัวเตรียมใจ เพื่อรับมือกับมะเร็งตับ ไม่ว่าในด้านกรรักษาและการปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด หรือการศึกษาหาความรู้เพื่อให้เข้าใจเกี่ยวกับโรคที่เป็นอยู่ ซึ่งจะช่วยให้คุณไม่วิตกกังวจนเกินไป และอย่าลืมว่าคุณไม่ได้อยู่โดดเดียว ทีมแพทย์ผุ้เชี่ยวชาญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนในครอบครัวรวมถึงคนรอบข้างมีส่วนสำคัญอย่างมากในการให้ กำลังใจและสนับสนุนให้คุณมีความพร้อมในการรักษา ซึ่งจะทำให้คุณสามารถใช้ชีวิตอยู่กับมะเร็งตับได้อย่างมีคุณค่าและมีความสุข ขึ้น
มารู้จักกับ "ตับ" ให้มากขึ้น
ตับเป็นอวัยวะที่ใหญ่ที่สุดในช่องท่อง อยู่ใต้ชายโครงขวา มีหน้าที่สำคัญต่างๆ ดังต่อไปนี้
- สังเคราำะห์องค์ประกอบที่ช่วยในการแข็งตัวของเลือดรวมทั้งโปรตีนอัลบูมินใน เลือดด้วย
- เป็นแหล่งเก็บสะสมอาหารในรูปของไกลโคเจน (glycogen) และเปลี่ยนเป็นน้ำตาลสู่กระแสเลือดเพื่อให้พลังงานเมื่อร่างกายต้องการ นอกจากนี้ยังสะสมธาตุเหล็กและวิตามินบางชนิด เช่น วิตามินเอ วิตามินดี
- สร้างและหลั่งน้ำดีที่ช่วยในกระบวนการย่อยและดูดซึมอาหาร รวมถึงสร้างโคเลสเตอรอลในร่างกาย
- กำจัดสารพิษบางชนิดที่เข้าสู่ร่างกาย
ตับเป็นอวัยวะที่มีความสามารถในการซ่อมแซมตัวเองสูง และยังคงสามารถทำงานได้ตามปกติแม้ว่าบางส่วนของตับถูกทำลายหรือถูกตัดไปถึง 3 ใน 4 ส่วนก็ตาม
สุรา ยาเสพติด สารพิษหรือการได้รับยาบางชนิดเกินขนาด เช่น พาราเซตามอล การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบเอ ไวรัสตับอักเสบบี ไวรัสตับอักเสบซี และไวรัสอื่นๆ บางชนิด สามารถทำลายตับได้
โรคร้ายทำลายตับ
โรคที่สามารถทำลายตับ ได้แ่ก่
- โรคไวรัสตับอักเสบชนิดเฉียบพลันและชนิด เรื้อรัง ในระยะเฉียบพลันจะมีอาการอ่อนเพลีย มีไข้ต่ำๆ คลื่นไส้อาเจียน แน่นท้อง เจ็บบริเวณชายโครงาขวา ตัวเหลือง ตาเหลือง ปัสสาวะสีเข้ม มักเกิิดจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบเอหรือบี สำหรับไวรัสตับอักเสบซีไม่ค่อยแสดงอาการในระยะเฉียบพลัน โดยไวรัสตับอักเสบเอนั้นจะติดต่อโดยการรับประทานหรือดื่มน้ำที่ปนเปื้อน เชื้อ ส่วนไวรัสตับอักเสบบีและซีสามารถติดต่อทางเลือด เพศสัมพันธ์ หรือจากแม่สู่ลูก และเป็นสาเหตุให้เกิดโรคตับอักเสบเรื้อรัง ตับแข็งหรือแม้แต่มะเร็งตับได้
- โรคตับจากแอลกอฮอล์ มักเกิดในผุ้ที่ดื่มแอลกอฮอล์จัดเป็นเวลาหลายปี แอลกอฮอล์จะทำให้มีไขมันมาเกาะที่ตับ ทำให้ตับโต บางครั้งจะัมีอาการกดเจ็บร่วมด้วย โดยทั่วไปมักไม่มีอาการให้สังเกต ยกเว้นกรณีที่ตับอักเสบ จะมีอาการปวดเมื่อยตามตัว เบื่ออาหาร อึดอัดแน่นท้อง ตัวเหลือง ตาเหลือง ปวดท้อง น้ำหนักลด บางรายอาจมีไข้สูงหรือแขนขาบวมด้วย ซึ่งหากยังคงดื่มต่อไปจะทำใ้ห้ตับแข็งและเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งตับ
- โรคไขมันในตับ มักเกิดในผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกิน ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง โดยเฉพาะไตรกลีเซอไรด์ ไขมันในตับอาจจะก่อให้เกิดการอักเสบซึ่งนานเข้าก็กลายเป็นพังผืดและตับแข็ง ตามมา
- โรค มะเร็งตับปฐมภูมิ มักเกิดในผู้ที่มีโรคตับอยู่เดิม โดยเฉพาะผู้ที่มีตับแข็งจากสาเหตุต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นจากแอลกอฮอล์หรือจากไวรัสตับอักเสบบีหรือซี
มะเร็ง ตับคืออะไร
มะเร็งตับ คือ โรคที่เกิดจากความผิดปกติที่ดีเอนเอ (DNA) หรือสารพันธุกรรมส่งผลให้เซลล์ในตับแบ่งตัวและเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วจนไม่ สามารถควบคุมได้ มะเร็งที่่เกิดขึ้นในตับแบ่งออกเป็น 2 ชนิดใหญ่คือ
1. มะเร็ง ตับปฐมภูมิ (primary liver cancer) ที่พบมากมีอยู่ 2 ชนิด คือ
- มะเร็งเซลล์ตับ (hepatocellular carcinoma หรือ hepatoma) มีต้นกำเนิดมาจากเซลล์ของตับ มักเกิดกับผู้ที่มีโรคตับอยู่เดิมโดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคตับแข็ง พบได้บ่อยมากในประเทศไทย เนื่องจากมีผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีำจำนวนมากและติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ ซีพอสมควร โดยจะพบมะเร็งชนิดนี้มากกว่ามะเร็งท่อน้ำดีในตับ และเพศชายจะเป็นโรคนี้มากกว่าเพศหญิง
- มะเร็งท่อน้ำดีในตับ (cholangiocarcinoma หรือ cholangioma) มีต้นกำเนิดจากเยื่อบุผนังของท่อน้ำดี สาเหตุมักเกี่ยวข้องกับการรับประทานปลาน้ำจืดแบบสุกๆ ดิบๆ ซึ่งเสี่ยงต่อการได้รับพยาธิใบไม้ตับ อันเป็นปัจจัยเสียงสำคัญของการเกิดมะเร็งท่อน้ำดี พบได้บ่อยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ประชาการมีพฤติกรรมในการรับประทานปลา น้ำจืดสุกๆ ดิบๆ
ส่วนมะเร็งเส้นเลือดของตับ (angiosarcoma) ซึ่งมีกำเนิดจากหลอดเลือดภายในตับ จัดเป็นมะเร็งตับปฐมภูมิอีกชนิดหนึ่ง แต่พบได้น้อย
2. มะเร็งตับทุติยภูมิ (secondary liver cancer) เป็นมะเร็งที่มีต้นกำเนิดจากที่อื่น เช่นปอด เต้านม หรือลำไส้ใหญ่ แล้วแพร่กระจายมายังตับ โดยจะเรียกชื่อตามอวัยวะี่ที่เป็นต้นกำเนิดของมะเร็งนั้นๆ
มะเร็งตับเกิดจากอะไรป้องกันได้ไหม
สาเหตุสำคัญของการเกิดมะเร็งตับ คือ การเป็นโรคตับแข็งจากสาเหตุและปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ต่อไปนี้
- การอักเสบเรื้อรังของตับจากเชื้อไวรัสตับอักเสบบีและซี
- ภาวะตับแข็งจากแอลกอฮอล์ ไวรัสตับอักเสบบีหรือซี
- การได้รับสารอะฟลาทอกซิน (aflatixin) อันเป็นปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิดมะเร็งตับ ซึ่งมักปนเปื้อนอยู่ในธัญพืชแห้งที่ขึ้นรา เช่น ถั่วลิสง พริกแห้ง กระเทียม เป็นต้น
ถ้าไม่อยากเป็นโรคมะเร็งตับควรรู้จักป้องกันตัวเอง โดยการหลีกเลี่ยงปัจจัยที่ทำให้เกิดตับอักเสบหรือตับแข็ง ดังนี้
- งดดื่มสุราและเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
- หลีกเลี่ยงอาหารที่อาจปนเปื้อนเชื้อราหรือสารอะฟลาทอกซิน ได้แก่ ธัญพืชต่างๆ
- อย่าสัมผัสกับเลือดหรือสารคัดหลั่งใดๆ ของผู้ือื่น หากจำเป็นให้สวมถุงมือ และห้ามใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่น
- ไม่สำส่อนทางเพศ สวมถุงยางอนามัยเพื่อป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ
- ป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีโดยการฉีดวัคซีน
- หากป่วยเป็นโรคตับอักเสบเรื้อรังจากไวรัสตับอักเสบบีหรือซี ต้องรับการรักษากับแพทย์อย่างต่อเนื่องด้วยวิธีที่เหมาะสม ซึ่งสามารถลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งตับได้
- กรณีที่คุณมีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งตับ ควรเฝ้าระวังเป็นระยะๆ โดยการตรวจเลือดและตรวจอัลตราซาวน์เพื่อหามะเร็งตับทุกๆ 6 เดือน
อาการแบบไหนเข้าข่ายมะเร็งตับ
มะเร็งตับระยะแรกมักจะไม่มีอาการใดๆ แต่เมื่อก้อนมีขนาดโตขึ้นหรือมีการลุกลามไปยังอวัยวะข้างเคียงหรือกระจายไป ที่อื่นๆ จะทำให้เกิดอาการต่อไปนี้
- มีก้อนในท้องด้านบนขวามือหรือบริเวณลิ้นปี่
- เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน อึดอัดแน่นท้อง ท้องโตขึ้น เนื่องจากมีน้ำในช่องท้อง (ท้องมาน)
- ปวดท้องบริเวณชายโครงด้านขวาซึ่งอาจร้าวไปที่ไหล่ขวา
- ตัวเหลือง ตาเหลือง ปัสสาวะสีเหลืองเข้ม หรือที่เรียกว่า "ดีซ่าน" ซึ่งทำให้มีอาการคันตามมือ
เท้า และผิวหนัง
- อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย
- น้ำหนักตัวลดลงอย่างรวดเร็ว
ทั้งนี้อาการเหล่านี้อาจจะเป็นจากสาเหตุอื่นก็ได้ อย่างไรก็ตามหากคุณมีอาการดังกล่าวควรรีบไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย เพื่อหาสาเหตุโดยเร็ว
ตรวจหามะเร็งตับทำอย่างไร
การตรวจหามะเร็งตับอาจเริ่มตั้งแต่การตรวจร่างกายทั่วๆ ไป ดูลักษณะของตับอักเสบเรื้อรังหรือตับแข็ง ดีซ่าน ตับโต หรือน้ำในช่องท้อง จากนั้นจึงทำการตรวจด้วยวิธีอื่นๆ ได้แก่
- ตรวจเลือดดูค่าแอลฟาฟีโตโปรตีน (alpha fetoprotein;AFP) ซึ่งมักจะสูงกว่าปกติ (ค่าปกติ 10-20 นาโนกรัม/มิลลิลิตร) ในผู้ที่เป็นมะเร็งตับ
- ตรวจด้วยเครื่องมือที่แสดงผลออกมาเป็นรูปภาพของตับซึ่งมักตรวจโดยอัลตรา ซาวด์ก่อน ถ้าพบว่ามีก้อนจึงตรวจเพิ่มเติมโดยการเอกซเรย์คอมพิวเตอร์หรือตรวจด้วยคลื่น สนามแม่เหล็กของช่องท้องเพื่อยืนยันและประเมินระยะของโรคในกรณีที่เป็น มะเร็ง
แต่ในกรณีที่ผลการตรวจ ข้างต้นไม่สามารถสรุปได้ชัดเจน แพทย์ก็จำเป็นต้องตรวจเพิ่มเติมโดย
- ตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์ โดยฉีดสารทึบรังสีเข้าไปในหลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงตับก่อนแล้วเอกซเรย์ดู ความผิดปกติ เช่น มีหลอดเลือดผิดปกติที่ไปเลี้ยงเนื่องอก ภายในตับหรือการอุดตันของหลอดเลือดดำที่ไปเลี้ยงตับ เป็นต้น
- ตรวจชิ้นเนื้อจากก้อนเนื้องอกในตับ โดยใช้เข็มแทงผ่า่นผิวหนังเข้าไปยังบริเวณเนื้องอกแล้วดูดตัวอย่างเนื้อขึ้น มาตรวจผ่านกล้องจุลทรรศน์ เพื่อยืนยันว่าเป็นมะเร็งหรือไม่
- หากผลการตรวจพบว่าเป็นมะเร็งตับ แพทย์จะส่งตรวจเพิ่มเติมเพื่อดูสภาวะการทำงานของตับ เพื่อเป็นข้อมูลช่วยเสริมในการตัดสินใจเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสมสำหรับ ผู้ป่วย โดยการตรวจเลือดเพื่อดูค่าต่างๆ เช่น
- ค่าระดับน้ำดีในเลือด (bilirubin)
- ค่าระดับโปรตีนอัลบูมินในเลือด (albumin)
- ระยะเวลาที่ใช้ในการแข็งตัวของเลือด (prothrombin time)
นอกจากนี้ยังรวมถึงการตรวจภาวะความผิดปกติทางสมองที่เกิดจากการคลั่งของสาร พิษในเลือดจากโรคตับเรื้อรังด้วย
หลากหลายทางเลือกสู้ กับมะเร็งตับ
ด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่พัฒนาอยู่ตลอดเวลา ทำให้การรักษามะเร็งตับในปัจจุบันมีทางเลือกหลายวิธี แพทย์จะวางแผนการรักษาโดยร่วมปรึกษากับผู้ป่วยและญาติเพื่อเลือกวิธีที่ เหมาะสมที่สุด ซึ่งต้องพิจารณาจากระยะของโรค สภาพร่างกายของผู้ป่วยส่วนใหญ่แล้วจะใช้หลายวิธีร่วมกันเพื่อผลการรักษาที่ น่าพอใจที่สุด
รังสีรักษา (radiation therapy) โดยการฉายรังสีมักได้ผลการรักษาไม่ดีนัก ส่วนการฝังแร่เพื่อทำลายเซลล์มะเร็งหรือให้สารแร่ทางเส้นเลือดที่ไปเลี้ยง มะเร็งตับ มักได้ผลดีกับมะเร็งระยะต้นที่ก้อนมะเร็งยังมีขนาดไม่เกิน 3 เซนติเมตร หรือใช้เพื่อช่วยให้การรักษามะเร็งขนาดใหญ่ได้ผลดีขี้น
การผ่าตัด (surgery) มีวิธีการใหญ่ๆ 2 วิธี คือ
- การผ่าตัดเอาก้อนมะเร็งออกจากตับ เหมาะกับรายที่ก้อนมะเร็งมีขนาดไม่เกิน 5 เซนติเมตร อยู่ในตับเพียงส่วนเดียว และยังไม่มีการแพร่กระจาย การทำงานของตับต้องอยู่ในเกณฑ์ดี
- การผ่าตัดปลูกถ่ายตับจากตับของผู้บริจาค ได้ผลดีในผู้ที่ตับแข็ง มะเร็งยังไม่ลุกลาม หลังปลูกถ่ายตับต้องได้รับยากดภูมิต้านทานเพื่อไม่ให้ร่างกายปฏิเสธตับใหม่ ที่ปลูกถ่ายเข้าไป
เคมีบำบัด (chemotherapy) เป็นการฉีดยาเคมีเข้าหลอดเลือดดำและกระจายไปทั่วร่างกาย ซึ่งยามีผลทำลายทั้งเซลล์มะเร็งและเซลล์ปกติ ทำให้เกิดผลข้างเคียงสูง รวมถึงมะเร็งตับส่วนใหญ่มักจะดื้อต่อยาเคมีบำบัดและไม่ได้ช่วยให้ผู้ป่วยมี ชีวิตที่ยืนยาวขึ้น จึงได้มีกาีีรพัฒนาวิธีการทำเคมีบำบัดที่ให้ผลการรักษาดีขึ้นและผลข้างเคียง น้อยลง เช่น
- Chemoembolization เป็นการฉีดยาเคมีบำบัดผ่านสายสวนซึ่งใส่ไว้ในหลอดเลือดที่ไปเลี้ยง ก้อนมะเร็งแล้วอุดหลอดเลือดนั้น ทำให้ก้อนมะเร็งขาดเลือดไปเลี้ยงและสัมผัสกับยานานขึ้น แบ่งเป็นวิธีที่เรียกว่า TACE (transarterial chemoembolization) และ TOCE (transarterial oily-chemoembolization) โดยทั้งสองวิธีแตกต่างกันตรงสารที่ใช้ในการอุดหลอดเลือด กล่าวคือ TACE จะขึ้นเจลโฟม ส่วน TOCE จะใช้สารที่เป็นน้ำมันผสมกับยาเคมีบำบัด
- Hepatic arterial infusion เป็นการค่อยๆ ปล่อยยาเคมีบำบัดผ่านสายสวนซึ่งใส่ไว้ในหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงก้อนมะเร็งโดย ตรง จึงมีผลข้างเคียงน้อยกว่าเคมีบำบัดแบบเดิม
การรักษาเฉพาะที่ มักได้ผลดีในกรณีที่ก้อนมะเร็งมีขนาดไม่เกิน 5 เซนติเมตร เช่น
- RFA: radiafrequency ablation เป็นการปล่อยกระแสไฟฟ้าเหนี่ยวนำให้เซลล์มะเร็งสั่นด้วยคลื่นวิทยุความถี่ สูงจนร้อนขึ้นและตายในที่สุด
- PEI: percutaneous enthanol injection เป็นการฉีดแอลกอฮอล์เข้าไปที่ก้อนมะเร็ง ทำให้เนื้อเยื่อมะเร็งที่สัมผัสกับแอลกอฮอล์ถูกทำลาย
วิธีทั้งสองข้างต้นมีข้อสนับสนุนประสิทธิภาพในการรักษาอย่างชัดเจน นอกจากนี้ยังมีวิธีที่ให้ก้อนมะเร็งสัมผัสกับความเย็น (cryosurgery) หรือความร้อน (microwave) ทำให้เซลล์มะเร็งสลายตายไป
การรักษาด้วยยาที่ออกฤทธิ์เฉพาะเจาะจงต่อเป้า หมาย (targeted therapy) เป็นการรักษาแนวใหม่โดยมุ่งเป้าำไปยังยีนหรือโปรตีนที่ก้อนมะเร็งใช้ในการ เจริญเติบโตและแบ่งตัว จึงมีฤทธิ์ทำลายเฉพาะเซลล์มะเร็งเท่านั้น ทำให้มีผลข้างเคียงต่ำกว่าการใช้เคมีบำบัดแบบเดิม ซึ่งมีผลต่อเซลล์ปกติทั่วร่างกายด้วย
ซึ่งยาที่ใช้จะทำงานโดยการยับยั้งเอนไซม์ที่ชื่อว่า ไคเนส (kinase) ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมการเจริญเติบโตของ เซลล์มะเร็ง จากการยับยั้งส่งผลให้
1. ขัดขวางการแบ่งตัวและการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง (inhibit tumor cell proliferation)
2. ยับยั้งการสร้างหลอดเลือดใหม่ีที่ก้อนมะเร็งสร้างขึ้นเพื่อไปเลี้ยงตัวมัน เอง (anti-angiogenesis) ทำให้เซลล์มะเร็งขาดอาหารและออกซิเจนไปเลี้ยง
ข้อดีคือทำให้ผลการรักษาดีขึ้นและมีผลข้างเคียงน้อยลง ปัจจุบันอยู่ในรูปแบบยาใช้รับประทาน ข้อควรระวังคืออาการข้างเคียงคือ อาการทางผิวหนังที่ฝ่ามือฝ่าเท้า เช่น แดง ปวดบวมหรือพอง เป็นต้น หากมีอาการเหล่านี้ควรปรึกษาแพทย์ทันที เพื่อปรับลดขนาดยาหรือสั่งหยุดยา
การรักษาื่อื่นๆ เช่น immunotherapy เป็นการรักษาที่ได้รับความสนใจอย่างยิ่ง คือ การใช้ระบบภูมิต้านทานของร่างกายตนเองต่อสู้กับมะเร็ง โดยให้ยากระตุ้นเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิด T cell มาฆ่าเซลล์มะเร็ง
แพทย์จะเลือกวิธีการรักษาวิธีใดให้เหมาะกับเรา
ดังที่ได้กล่าวไปแล้วว่า ก่อนที่แพทย์จะเลือกวิธีการรักษาใดให้กับผู้ป่วยจะต้องพิจารณาหลายปัจจัย เช่น สุขภาพร่างกายของผู้ป่วยและระยะของโรค กล่าวคือ หากผู้ป่วยเป็นมะเร็งในระยะเริ่มต้นและไม่มีภาวะตับแข็ง แพทย์จะเลือกใช้วิธี "ผ่าตัดโดยการตัดเนื้อตับส่วนที่มีมะเร็งออก" โดยผู้ป่วยต้อง
- มีก้อนมะเร็งขนาดเล็กกว่า 2 เซนติเมตรซึ่งจะมีอัตราการรอดชีวิตที่ 5 ปีถึงร้อยละ 90
- มีก้อนมะเร็งขนาดโตกว่า 2 เซนติเมตรแต่ไม่เกิน 5 เซนติเมตร หรือ
- มีก้อนมะเร็งไม่เกิน 3 ก้อนแต่ละก้อนขนาดไม่เกิน 3 เซนติเมตรและอยู่ในตำแหน่งที่สามารถ
ตัดออกได้ นั่นคือก้อนมะเร็งยังอยู่ในตับเพียงกลีบเดียว
ในกรณีที่ผู้ป่วยมีตับแข็งร่วมด้วย แพทย์จะต้องอาศัยกฏเกณฑ์ที่ชัดเจนและเข้มงวดในการเลือกวิธีรักษายิ่งขึ้น ซึ่งผู้ที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่สามารถผ่าตัดได้จะมีประมาณ ร้อยละ 5-10 เท่านั้น
แต่ถ้าผู้ป่วยไม่สามารถผ่าตัดเนื้อตับได้เนื่องจากตำแหน่งของมะเร็งไม่เหมาะ สมหรือมีคุณสมบัติไม่เข้าเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้น แพทย์จะพิจารณาวิธีการ "เปลี่ยนตับ" เป็นทางเลือกอีกวิธีหนึ่งให้กับผู้ป่วย โดยมีเงื่อนไขคือ
- มีก้อนมะเร็งก้อนเดียวขนาดไม่เกิน 5 เซนติเมตร หรือไม่เกิน 3 ก้อนแต่ละก้อนขนาดไม่เกิน 3 เซนติเมตร ซึ่งอัตราการรอดชีวิตที่ 5 ปี มีมากกว่าร้อยละ 70 และโอกาสเป็นกลับมาใหม่น้อยกว่าร้อยละ 15
- ในบางกรณี หากผู้ป่วยมีระยะของโรคที่ไม่เข้าเกณฑ์ผ่าตัดเปลี่ยนตับ การรักษาโดยการฉีดแอลกอฮอล์เฉพาะที่ การทำลายมะเร็งด้วยความร้อนโดยคลื่นวิทยุหรือการให้ยาเคมีำบำบัดผ่านทางเส้น เลือดที่เลี้ยงมะเร็งร่วมกับการฉีดสารอุดเส้นเลือด อาจจะทำให้ระยะของมะเร็งตับลดลงจนเข้าเกณฑ์ที่จะผ่าตัดเปลี่ยนตับได้ และผลการเปลี่ยนตับก็มีเกณฑ์ดีเท่ากันกับผู้ที่อยู่ในเกณฑ์ที่สามารถรับการ เปลี่ยนตับตั้งแต่แรก
สำหรับ "การรักษา้เฉพาะที่" จะใช้กรณีที่คุณเป็นมะเร็งตับในระยะแรกที่ไม่เหมาะสมต่อการรักษาด้วยการผ่า ตัด ทำได้โดยใช้เครื่องมือเจาะผ่านหน้าท้องลงไป แล้วฉีดแอลกอฮอล์ 100% หรือใช้ความร้อนจากคลื่นวิทยุทำลายก้อนมะเร็ง วิธีดังกล่าวมีประสิทธิภาพใกล้เคียงกับการผ่าตัดตับในบางรายงาน แต่ก็ยังเป็นวิธีที่ได้ผลน้อยกว่าการผ่าตัดตับและการเปลี่ยนตับ อย่างไรก็ตามแม้ผู้ป่วยจะไม่เหมาะสมสำหรับการผ่าตัดหรือการทำลายก้อนมะเร็ง ผ่านทางผนังหน้าท้อง แต่หากแพทย์พบว่ามะเร็งยังไม่ได้ลุกลามไปที่หลอดเลือดดำของตับและยังไม่แพร่ กระจายไปที่อวัยวะอื่น แพทย์อาจให้ยาผ่านทางเส้นเืลือดแดงที่เลี้ยงก้อนมะเร็งแล้วตามด้วยการฉีดสาร เพื่ออุดเส้นเลือดที่เลี้ยงก้อนมะเร็ง (TACE,TOCE) ซึ่งผลการรักษาดีกว่าการรักษาแบบประคับประคอง เช่นการฉีดแอลกอฮอล์หรือการใช้ความร้อนจากคลื่นวิทยุดัวกล่าวข้างต้น และแพทย์อาจใช้วิธีนี้ลดระยะของมะเร็งตับจากที่ผ่าตัดไม่ได้เป็นผ่าตัดได้
วิธีดูแลผู้ป่วยมะเร็งตับ
การดูแลสุขภาพทั้งร่างกายและจิตใจเป็นเรื่องสำคัญที่จะช่วยให้ผู้ป่วยมะเร็ง ตับมีความพร้อมต่อการรักษา อีกทั้งยังมีส่วนช่วยลดอาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการรักษาด้วย
เลือกรับ ประทานอาหารที่มีประโยชน์ เช่น
สิ่งควรทำ
1. ปรึกษาแพทย์ก่อนเริ่มแผนการออกกำลังกาย เพื่อทราบว่าร่างกายของผู้ป่วยพร้อมต่อการออกกำลังกายมากน้อยแค่ไหน
2. ให้ครอบครัวหรือเพื่อนๆ มีส่วนร่วมกับการออกกำลังกายของผู้ป่วย นอกจากจะมีคนคอยดูแลเรื่องความปลอดภัยแล้ว ยังทำให้ผู้ป่วยรู้สึกมีเพื่อนและสนุกขึ้นด้วย
3. เริ่มต้นออกกำลังกายอย่างช้าๆ แล้วจึงเพิ่มระยะเวลาในการออกกำลังกายให้นานขึ้นในวันต่อไป
4. แบ่งให้มีช่วงพักจากการออกกำลังกายบ่อยขึ้น เช่น หากผู้ป่วยต้องการเดินเร็วเป็นเวลา 30 นาที อาจแบ่งให้ีมีช่วงพักทุก 10 นาที เป็นต้น
สิ่งที่ไม่ควรทำ
1. ผู้ป่วยมะเร็งตับส่วนมากจะมีตับแข็งซึ่งอาจมีเส้นเลือดขอดที่บริเวณตับร่วย ด้วย ดังนั้นการออกกำลังกายแบบใดก็ตามที่ต้องมีการเกร็งหน้าท้อง เช่นการ sit-up ก็ควรหลีกเลี่ยง เพราะอาจทำให้เส้นเลือดที่ขอดอยู่นั้นแตกได้
2. หากผู้ป่วยมีโลหิตจางก็ยังไม่ควรออกกำลังกาย ปกติในระหว่างการรักษาจะมีการเจาะเลือดเพื่อนับจำนวนเม็ดเลือดของผู้ป่วย อยู่เสมอ ควรถามทีมแพทย์ผู้ดูแลว่า ผู้ป่วยพร้อมที่จะออกกำลังกายหรือยัง
3. หลีกเลี่ยงการใช้สระว่ายน้ำซึ่งมักจะมีคลอรีน ที่ทำให้ผิวหนังบริเวณที่ฉายรังสีเกิดการระคายเคือง
4. หลังรับเคมีบำบัด 7-12 วันไม่ควรว่ายน้ำในสระน้ำสาธารณะ
5. การใช้ยาเคมีบำบัดอาจทำให้ร่างกายของผู้ป่วยสามารถรับมือกับการติดเชื้อได้ น้อยลง ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายในที่สาธารณะ ซึ่งเสี่ยงต่อการรับเชื้อโรค
6. หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายบนพื้นที่ขรุขระหรือลาดชัน เพราะทำให้เสี่ยงต่อการหกล้มบาดเจ็บได้
ถึงแม้ผู้ป่วยจะออกกำลังกายได้เพียงวันละไม่กี่นาที แต่ร่างกายผู้ป่วยก็ยังได้รับประโยชน์ ซึ่งการออกกำลังกายควรทำแบบค่อยเป็นค่อยไป ไม่ควรคิดว่าวันนี้้ต้องทำได้เท่านั้นเท่านี้ หากวันไหนรู้สึกอ่อนเพลีย ไม่อยากออกกำลังกาย ก็อาจยืดเส้นยืดสาย เหยืยดกล้ามเนื้อในท่าต่างๆ เช่น นอนหงายราบกับพื้นโดยให้ไหล่และแขนวางราบกับพื้น ไขว้ขาขวาไปให้ไกลที่สุดเท่่าที่จะทำได้ และให้เข่าซ้ายเหยียดตรง ทำด้านซ้ายเหมือนกัน คงท่ายืดกล้ามเนื้อเป็นเวลา 15-30 วินาที่ ทำซ้ำท่าละ 5 ครั้ง หรืออาจหันศีรษะไปทางขวาและซ้ายสลับกันโดยการหันแต่ละครั้งให้ค้างในท่าเดิม ประมาณ 15-30 วินาที แล้วเปลี่ยนมาเป็นท่าเอียงศีรษะบ้าง เป็นต้น
หัวใจ สำคัญในการดูแลรักษาโรคมะเร็งก็คือการเสริมสร้างภูมิต้านทานของร่างกายให้ สมบูรณ์แข็งแรงเสมอ ด้วยการไม่เครียด ทานอาหารให้ครบหมู่เน้นการเสริมด้วยวิตามินที่จำเป็นในการต้านอนุมูลอิสระ พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกาย และส่งเสริมสมดุลภูมิต้านทาน ก็สามารถทำให้ท่านผ่า่นพ้นวิกฤตินี้ได้อย่างง่ายดาย
เคล็ด ไม่ลับในการรักษามะเร็งคือ ป้องกันไม่ให้เซลล์มะเร็งใหม่เกิดขึ้นมาและทำลายเซลล์มะเร็งเดิมที่มีอยู่ แล้วให้หมดสิ้นไป
เอกสารอ้างอิง
1. สถาบันมะเร็งแห่งชาติ. "Hospital-Based Registry 2008". [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.nci.go.th
/File_download/Nci%20Cancer%20Registry/2008. pdf 2552.
2. SD Ryder. Guidelines for the diagnosis and treatment of hepatocellular carcinoma (HCC) in adult. Gut
2003;52(Suppl III):iii1-iii8.
3. University of California. "Liver cancer treatment." [online]. Available: http://www.cancer.med.ucla.edu
/index.php?option=com_content&task=view&id=264&Itemid=146. 2009.
4. สถาบันมะเร็งแห่งชาติ. แนวทางการตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคมะเร็งตับและมะเร็งท่อน้ำดี. พิมพ์ครั้งที่1.
กรุงเทพมหานคร: ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย, 2549
5. National Cancer Institute. "Detailed guide: liver cancer: chemotherapy." [online]. Available:
http://www.cancer.org/docroot/CRI/content/CRI_2_4_4X_Chemotherapy_25.asp. 2009.
6. ศูนย์โรคตับและปลูกถ่ายตับ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์. รู้ลึกเรื่่่องเปลี่ยนตับ. พิมพ์ครั้งที่3. กรุงเทพมหานคร:
อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชิ่ง, 2550.
7. National Cancer Institute. "What you need to know about liver cancer." [online]. Available:
http://www.cancer.gov/cancertopics/wyntk/liver.pdf. 2009.
8. National Cancer Institute. "Fact sheet: targeted cancer therapies." [online]. Available: http://www.cancer.gov
/cancertopics/factsheet/Therapy/targeted. 2009.
9. EI-Serag HB, Marrero JA, Rudolph L, Reddy KR. Diagnosis and treatment of hepatocellular carcinoma.
Gastroenterology 2008;134:1752-63.
10. Mendizabal M, Reddy KR. Current management of hepatocellular carcinoma. Med Clin N Am 2009;93:885-900
|
|
|