Support
4life Immunity
0816516654
Your shopping cart
ดูตะกร้าสินค้าของคุณ
ไม่มีสินค้าในตะกร้าของคุณ

กระดูกพรุน ข้อต่อและคอลลาเจน

วันที่: 06-02-2013

 

 

กระดูกพรุน ข้อต่อ และ คอลลาเจน

 

 

บทบาทของคอลลาเจน (Hydrolyzed Collagen) ในกระบวนการเปลี่ยนแปลงของกระดูกอ่อนและการซ่อมแซม ทั้งนี้ เพื่อให้ความคืบหน้าของงานวิจัยด้านโภชนาการ (และโรคข้อต่อเสื่อม) เป็นที่รับรู้มีข้อมูลบ่งชี้ว่าประชาชนเกือบ 70 ล้าน คนในสหรัฐอเมริกา ได้รับผลกระทบจากโรคไขข้ออักเสบ และโรคที่เกี่ยวข้องกับข้อต่อ ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพคาดการณ์ว่า ผู้ป่วยโรคข้อต่อจะเพิ่มขึ้นอย่างรุนแรงในอีก 20 ปีข้างหน้า เนื่องจากชาวอเมริกันที่มีอายุเกิน 70 ปีมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า
(Ref: 
www.cdc.gov)

ภาวะปกติ
 
 

โรคกระดูกพรุน คือ ภาวะที่มวลกระดูกลดน้อยลง ซึ่งความเสื่อมเชิงโครงสร้างเช่นนี้ทำให้ความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะกระดูกแตก หักมีมากขึ้น การวินิจฉัยโรคกระดูกพรุนกระทำบนพื้นฐานของการประเมินความหนาแน่นของมวล กระดูก (bone mass density – BMD) ทาง การแพทย์ ซึ่งเกี่ยวข้องกับปัจจัยเสี่ยงหลายด้าน และเกี่ยวข้องกับการประเมินทางรังสีวิทยา ขณะเดียวกัน อาหารเสริมจำพวกแคลเซียม การทดแทนด้วยฮอร์โมน และการบำบัดรักษาด้านอื่นๆ สามารถป้องกันการสูญเสียมวลกระดูกได้ อย่างไรก็ตาม วิธีการบำบัดรักษาในปัจจุบันยังไม่สามารถแก้ไขความเสียหายของคอลลาเจนใน กระดูกของผู้สูงวัยได้

 
 
 
 

โรคข้อต่อเสื่อม (Osteoarthritis – OA) เกิด ขึ้นจากหลายสาเหตุ แต่ปัจจุบันยังไม่พบวิธีรักษาให้หายขาดได้ จะมีก็แต่เพียงการรักษาที่ช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดได้เท่านั้น ด้วยเหตุนี้ผู้เชี่ยวชาญจึงต้องทำการทดลองทางเลือกอื่นๆ ที่จะช่วยให้ผู้ป่วยมีความหวัง และมีค่าใช้จ่ายในการรักษาไม่แพงนัก 
ซึ่งรวมถึง ทางเลือกด้านโภชนาการและโปรตีนประเภทต่างๆ รวมถึง คอลลาเจน (Hydrolyzed Collagen) ที่ อาจลดการรุมเร้าของโรคข้อต่อเสื่อม อีกทั้งช่วยบรรเทาอาการให้ดีขึ้น และชะลอการลุกลามของโรคได้ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางในเรื่องสุขภาพข้อต่อ ได้มารวมตัวกันในการประชุมทางการศึกษา ภายใต้หัวข้อ “ บทบาทของคอลลาเจน ในกระบวนการเปลี่ยนแปลงของกระดูกอ่อนและการซ่อมแซม ” ในที่ประชุมสภาโรคข้อต่อเสื่อมสากล ที่กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมัน 
คอลลาเจน กับ ข้อต่อกระดูก ทั้งสองภาพแสดงให้เห็นถึงปัญหาไขข้อกระดูกสะโพกเสื่อม และในภาวะที่เป็นปกติ ดังนั้นจึงไม่ควรรอให้วันนั้นมาถึง เราควรเสริม การบริโภคคอลลาเจนสะสมไว้ล่วงหน้าจะดีกว่า

(Ref. from: www.hydrolyzed-collagen.com /Dr.Steffen Oesser, from the University of Kiel, Germany)

 
แปลและเรียบเรียงโดย www.MarthaThailand.com
 
 
 
หมายเหตุ  คอลลาเจนที่้ใช้ในการสร้างโครงกระดูกนั้น ควรเป็นคอลลาเจนที่มีรูปแบบโมเลกุลที่เหมาะสมเฉพาะ จะดีกว่าคอลลาเจนโดยทั่วไป เพราะเป็นโครงสร้างเฉพาะ และส่งเสริมให้การสร้างมวลกระดูกเป็นไปอย่างได้ผลและรวดเร็วยิ่งขึ้น