Support
4life Immunity
0816516654
Your shopping cart
ดูตะกร้าสินค้าของคุณ
ไม่มีสินค้าในตะกร้าของคุณ

การดูแลเท้าในผู้ป่วยเบาหวาน

วันที่: 2013-04-20 11:21:23.0view 19845reply 0

การดูแลเท้าในผู้ป่วยเบาหวาน

แผลที่เท้าในผู้ป่วยเบาหวาน
เป็นภาวะแทรกซ้อนที่ทำให้การรักษายุ่งยาก อย่างไรก็ตามการป้องกันสามารถทำได้ง่าย โดยการปฏิบัติตัวทั่วไปที่แนะนำประกอบด้วย

-ทำความสะอาดเท้าทุกวันด้วย
น้ำสะอาดและสบู่อ่อน วันละ 2 ครั้ง และทำความสะอาดทันทีทุกครั้งที่เท้าเปื้อนสิ่งสกปรก และเช็ดเท้าให้แห้งทันทีรวมทั้งบริเวณซอกนิ้วเท้า
...-สำรวจเท้าอย่างละเอียดทุกวั
น รวมทั้งบริเวณซอกนิ้วเท้า ว่ามีแผล, หนังด้านแข็ง,ตาปลา, รอยแตก หรือการติดเชื้อรา หรือไม่
-หากมีปัญหาเรื่องสายตา ควรให้ญาติหรือผู้ใกล้ชิดสำ
รวจเท้าและรองเท้าให้ทุกวัน
-หาก ผิวแห้งควรใช้ครีมทาบางๆ แต่ไม่ควรทาบริเวณซอกระหว่า
งนิ้วเท้าเนื่องจากอาจทำให้ซอกนิ้วอับชื้น, ติดเชื้อรา และผิวหนังเปื่อยเป็นแผลได้ง่าย
-ห้ามแช่เท้าในน้ำร้อนหรือใ
ช้อุปกรณ์ให้ความร้อน (เช่น กระเป๋าน้ำร้อน) วางที่เท้าโดยไม่ได้ทำการทดสอบอุณหภูมิก่อน
-หากจำเป็นต้องแช่เท้าในน้ำ
ร้อนหรือใช้อุปกรณ์ให้ความร้อนวางที่เท้า จะต้องทำการทดสอบอุณหภูมิก่อน โดยให้ผู้ป่วยใช้ข้อศอกทดสอบระดับความร้อนของน้ำหรืออุปกรณ์ให้ความร้อนก่อน ทุกครั้ง ผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อนที่เส้นประสาทส่วนปลายมากจนไม่สามารถรับความรู้สึก ร้อนได้ควรให้ญาติหรือผู้ใกล้ชิดเป็นผู้ทำการทดสอบอุณหภูมิแทน
-หากมีอาการเท้าเย็นในเวลาก
ลางคืน ให้แก้ไขโดยการสวมถุงเท้า
-เลือก สวมรองเท้าที่มีขนาดพอดี, ถูกสุขลักษณะ, เหมาะสมกับรูปเท้า และทำจากวัสดุที่นุ่ม (เช่น หนังที่นุ่ม) แบบรองเท้าควรเป็นรองเท้าหุ
้มส้น (ซึ่งจะช่วยป้องกันอันตรายที่เท้าได้ดี), ไม่มีตะเข็บหรือมีตะเข็บน้อย (เพื่อมิให้ตะเข็บกดผิวหนัง) และมีเชือกผูก (ซึ่งจะช่วยให้สามารถปรับความพอดีกับเท้าได้อย่างยืดหยุ่นกว่ารองเท้าแบบ อื่น)
-หลีกเลี่ยงหรือห้ามสวมรองเ
ท้าที่ทำด้วยยางหรือพลาสติก เนื่องจากจะมีโอกาสเกิดการเสียดสีเป็นแผลได้ง่าย
-ห้ามสวมรองเท้าแตะประเภทที
่ใช้นิ้วเท้าคีบสายรองเท้า
-หากต้องสวมรองเท้าที่ซื้อใ
หม่ ในระยะแรกไม่ควรสวมรองเท้าใหม่เป็นเวลานานหลายๆ ชั่วโมงต่อเนื่องกัน ควรใส่สลับกับรองเท้าเก่าก่อนระยะหนึ่ง จนกระทั่งรองเท้าใหม่มีความนุ่มและเข้ากับรูปเท้าได้ดี
-ผู้ป่วยที่ต้องสวมรองเท้าห
ุ้มส้นทุกวันเป็นเวลาต่อเนื่องหลายชั่วโมงในแต่ละวันควรมีรองเท้าหุ้มส้นมากกว่า 1 คู่ สวมสลับกัน และควรผึ่งรองเท้าที่ไม่ได้สวมให้แห้งเพื่อมิให้รองเท้าอับชื้นจากเหงื่อที่เท้า
-สวมถุงเท้าก่อนสวมรองเท้าเ
สมอ เลือกใช้ถุงเท้าที่ไม่มีตะเข็บ (หากถุงเท้ามีตะเข็บให้กลับด้านในออก), ทำจากผ้าฝ้ายซึ่งมีความนุ่มและสามารถซับเหงื่อได้(ซึ่งจะช่วยลดความอับชื้นได้ดี) และไม่รัดแน่นจนเกินไป นอกจากนี้ควรเปลี่ยนถุงเท้าทุกวัน
-สำรวจดูรองเท้าทั้งภายในแล
ะภายนอกก่อนสวมทุกครั้งว่ามีสิ่งแปลกปลอมอยู่ในรองเท้าหรือไม่ เพื่อป้องกันการเหยียบสิ่งแปลกปลอมจนเกิดแผล
-ห้ามตัดเล็บจนสั้นเกินไปแล
ะลึกถึงจมูกเล็บ ควรตัดตามแนวของเล็บเท่านั้นโดยให้ปลายเล็บเสมอกับปลายนิ้ว ห้ามตัดเนื้อเพราะอาจเกิดแผลและมีเลือดออก
-ห้ามตัดตาปลาหรือหนังด้านแ
ข็งด้วยตนเอง รวมทั้งห้ามใช้สารเคมีใดๆ ลอกตาปลาด้วยตนเอง
-ห้ามเดินเท้าเปล่าทั้งภายใ
น, บริเวณรอบบ้าน และนอกบ้านโดยเฉพาะบนพื้นผิวที่ร้อน (เช่น หาดทราย พื้นซีเมนต์)
-หลีกเลี่ยงการนั่งไขว่ห้าง
โดยเฉพาะในกรณีที่มีหลอดเลือดแดงที่ขาตีบ
-ควบคุมระดับกลูโคสในเลือดใ
ห้อยู่ในเกณฑ์ปกติหรือใกล้เคียงปกติมากที่สุด
-พบแพทย์ตามนัดอย่างสม่ำเสม
อเพื่อสำรวจและตรวจเท้า
-หากพบว่ามีแผลแม้เพียงเล็ก
น้อย ให้ทำความสะอาดทันที และควรพบแพทย์โดยเร็ว
-งดสูบบุหรี่

ที่มา : healthy.freewer.net

All Replys: 0   Pages: 1/0