Support
4life Immunity
0816516654
Your shopping cart
ดูตะกร้าสินค้าของคุณ
ไม่มีสินค้าในตะกร้าของคุณ

สิบยาง่ายกับอันตรายที่ควรรู้ ดูให้ดีก่อนที่ยาง่าย ๆ จะกลายเป็นยาง่อย

วันที่: 23-05-2013view 34095reply 0

สิบยาง่ายกับอันตรายที่ควรรู้ ดูให้ดีก่อนที่ยาง่าย ๆ จะกลายเป็นยาง่อย

มีการศึกษาชิ้นหนึ่งระบุว่า
ผู้คนส่วนใหญ่ถึง 75% ใช้ยาแต่ไม่รู้จักชื่อยาที่ใช้ และก็มีอีกกลุ่มใหญ่ที่ไม่รู้สรรพคุณของมันอย่างถ่องแท้ หรือบางทีแค่รู้ชื่อแต่เข้าใจผิดว่ารักษาโรคที่เป็นได้ประเภทรู้หน้าไม่รู้ใจก็มี

... เดาเอาว่าผมเองก็คงเป็นหนึ่
งในคนกลุ่มที่ว่านั้นเพราะลองสังเกตตัวเองว่าเวลาดูโฆษณายาตัวใหม่ๆตอนเขาอ่านฉลากข้อควรระวังไม่เคยฟังทันเสียที คิดในแง่ดีคือได้ความรู้ใหม่ใช้ฝึกสมองครับ กับสปีดติดจรวดของผู้อ่านสปอตโฆษณา

อย่าหายใจเลยทีเดียว
เพราะถ้าเว้นช่องไฟหายใจเนื้
อความอาจหายไปทั้งบรรทัด เรียกว่าจัดเต็มให้คุ้มกับเวลาโฆษณาเป็นวินาที เวลาฟังแล้วจึงมีความรู้สึกว่าห่วงใยในผู้บริโภคเสียเหลือเกิน บ้านเราก็เป็นอย่างนี้ครับ ช่วยกันค่อยๆปรับค่อยๆแก้ไป ถ้าคิดให้สนุกก็เป็นสีสันชีวิตดีเหมือนกัน

แต่ถ้าคิดให้ซีเรียส เรื่องยาก็เป็นเรื่องคอขาดบ
าดตายอันตรายทำเล่นๆไม่ได้ ดังนั้นผู้บริโภค(ยา)จึงควรต้องยืนหยัดด้วยลำแข้งตัวเองด้วย

ช่วยให้ไม่ต้องตกเป็นเหยื่อ
ยาที่ดูธรรมดาๆ

ยาที่รับประทานบ่อยเช่นยาแก้
ปวดพาราเซตามอล ถ้ามากเกินไปจะกลายเป็นยาพิษที่ทำให้ถึงขั้น “ตับวาย” ได้

ยาที่อันตรายที่สุดอาจไม่ใช่
ยาที่แรงหรือราคาแพงแต่เป็นยาที่อยู่ใกล้ตัวนี่เอง รวมถึงวิตามินและสมุนไพรที่ไม่ได้มาตรฐานด้วย

เด็กกับผู้สูงวัยเป็น 2 กลุ่มใหญ่ที่ป่วยด้วยยามาก

สิบยาง่ายที่อาจกลายเป็น “ยาง่อย”

ผู้ร้ายมักจะมาจากสิ่งใกล้ตั
วที่เรามองข้ามครับ ยาก็เหมือนกันครับ ยาที่ดูสามัญอาจ “วิสามัญ” เราได้อย่างคาดไม่ถึง ยกตัวอย่างเช่นยาแก้ปวด ยานอนหลับหรือแม้แต่ยาแก้หวัดธรรมดาๆอย่างสูโดเอฟีดรีนที่เล่าไป

ถ้าไม่อยากเสี่ยงกับยา ไม่อยากให้ยาใกล้มือเป็น “ยาพิษ” ไปได้ขอให้ทำความรู้จักมันไ
ว้สักนิดจะดีครับ ดังจะขอแบ่งเป็น 10 หมวดใหญ่ดังนี้

- ยาโรคผิวหนังและยาสำหรับผิว
พรรณ ที่ยกขึ้นมาก่อนเพราะสำคัญครับ ใช้กันทั้งเด็กและผู้ใหญ่แล้วเดี๋ยวนี้เพราะมีคลินิกประเภทผิวพรรณเกิดขึ้นเยอะ ยาในกลุ่มนี้มีทั้งได้จากแพทย์และซื้อเองผ่านอินเตอร์เน็ตซึ่งก็ต้องจับตาทั้งคู่ ดูที่ควรระวังอยู่ 2 ประเภทหลักๆคือยาสเตียรอยด์แบบทากับยากรดวิตามินเอทั้งแบบกินและทาด้วยว่ามีผลกับตับและร่างกายโดยรวมได้มาก นอกจากนั้นยังมีเวชสำอางค์เสริมสวยประเภททำเองโดยไม่ได้มาตรฐานหรือยังไม่มีงานวิจัยรองรับก็ต้องระวังจะเป็นผู้รับความเสี่ยงเสียเองครับ

- ยาแก้หวัดแก้แพ้ ยากลุ่มนี้มีข่าวแย่ๆไปไม่น
านนั่นคือเรื่องของ “สูโดเอฟีดรีน” ที่เป็นยาลดน้ำมูก ถูกเอาไปใช้ผิดๆจน “เสียยา” ไป ยาในกลุ่มก้แพ้นี้มีชื่อที่คุ้นหูอยู่อาทิ คลอเฟนิรามีน,ไฮดร็อกซีซิน,ไดเมนไฮดริเนต ฯลฯ ยากลุ่มนี้ใช้กันถี่หน่อยเพราะถือเป็นยาง่ายๆที่ซื้อขายได้ แต่ใครจะรู้ว่าในผู้ที่มีความพิเศษอย่างนักกีฬา,ผู้ป่วยซึมเศร้า จะทำเอาอาการกำเริบได้ ทำให้ชีวิตเฉื่อยและเหน็ดเหนื่อยง่ายกว่าที่ควร

- ยาแก้ปวด อาการปวดเร่งให้มือไปหยิบยา
แก้ปวดมารับประทาน บางบ้านซื้อติดไว้เหมือนขนมหวาน ยาแก้ปวดที่ควรรู้มี อะเซตามิโนเฟน(พาราเซตามอล), ไอบูโพรเฟ่น,ไดคลอฟีแนก และยาแก้ปวดเฉพาะกิจอีกมาก บางชนิดมีผลข้างเคียงต่อตับอย่างพาราเซตามอล หรือยากลุ่มเอ็นเสดที่มีผลต่อไต เร่งให้ไตทำงานหนักและเสื่อมเร็ว

- ยาลดไขมัน ยาในกลุ่มนี้มีหลายชนิด หลักๆก็มีกลุ่ม “สแตติน” ออกฤทธิ์ลดไขมันและลดการทำง
านของตับ ใช่แล้วครับฟังไม่ผิดเลย มันไปเพิ่มภาระตับให้ทำงานหนักขึ้น อีกทั้งยังสลายกล้ามเนื้อทำให้ปวดตัวโดยไม่ทราบสาเหตุ ท่านที่ทานยาลดไขมันกลุ่มนี้ควรต้องตรวจตับเป็นระยะ เพราะทานนานเข้าจะทำเอาขาดวิตามินโคคิวเท็นและเป็นเหตุให้ร่างกายรู้สึกอ่อนล้า ไม่อยากออกกำลัง ทำให้เสียสุขภาพมากขึ้น

- ยาฆ่าเชื้อ(ปฏิชีวนะ) ยากลุ่มนี้มีอยู่กว้างเป็นม
หาสมุทร แต่ที่มนุษย์ใช้กันบ่อยก็มียาแก้เจ็บคอ,ยาแก้อักเสบแผลและยาฆ่าเชื้อ นี่คือสามชื่อที่เรียกกันบ่อยๆ ชื่อตัวอย่างยาในกลุ่มนี้มี อะม็อกซีซิลลิน,ไดคล็อกซ่าซิลลิน,แอมพิซิลลิน,ร็อกซิโทรมัยซิน,นอร์ฟล็อกซาซิน,ซิโปรฟล็อกซาซิน มีทั้งยากินและยาฉีดครับ ถ้าร่างกายได้รับมากเกินไปจะส่งผลให้เกิดเชื้อดื้อยาได้ ในบางคนเกิดอาการแพ้ ต่างประเทศจึงออกกฏให้ใช้ตามแพทย์สั่งเท่านั้น

- ยาเบาหวาน ยาลดน้ำตาล ลดความหวานไม่ให้ประหารร่าง
กาย ยากลุ่มนี้อาทิ ไกลเบนคลาไมด์,เม็ทฟอร์มิน และอีกมาก หากช่วงไหนทานอาหารไม่ค่อยได้ ให้ระวังยาลดน้ำตาลให้ดีเพราะมีสิทธิ์ทำความดันต่ำจนวูบได้ครับ หลักการรับประทานยาลดน้ำตาลต้องดู “จังหวะ” ด้วยครับว่าก่อนหรือหลังรับประทานอาหาร เพราะการทานผิดเวลาจะส่งผลต่อการทำงานของยามาก

- ยาลดความดัน ท่านที่ความดันโลหิตสูงขออย
่าขาดยาทีเดียวครับจะเกิดเรื่องใหญ่ตามมาอย่างคาดไม่ถึง ตัวอย่างยาลดความดันก็มี ไฮโดรคลอโรไทอะไซด์,โพรพราโนลอล,อะทีโนลอล,อีนาลาพริล ฯลฯ ยากลุ่มนี้มีทั้งขับปัสสาวะ,ฉุดให้หัวใจเต้นช้าและทำให้หลอดเลือดขยายตัว บางอย่างมีผลข้างเคียงน่ากลัวคือทำให้ “วูบ” ได้ และบางอย่างทำให้ “ไอ” รู้สึกแห้งคอตลอดเวลาอย่างอีนาลาพริลเป็นต้น

- ยานอนหลับและยาคลายเครียด ยากลุ่มนี้ที่รู้จักกันมากไ
ด้แก่ ลอร่าซีแปม,ไดอะซีแปม,อัลปร้าโซแลม,อะมิทริปทิลลิน ฯลฯ คนที่ใช้จะได้รับฤทธิ์ต่อจิตประสาทแบบเต็มๆครับ การใช้นานมีโอกาสทำให้สมองเฉื่อยชา เบลอและขี้ลืมได้มากครับ บางชนิดแรงเสียจนต้องอาบน้ำแต่งตัวนอนให้เสร็จก่อนรับประทานเพราะไม่เช่นนั้นมีสิทธิ์ “หลับคาที่” ไปได้เลย อันตรายขนาดนี้จึงมีมิจฉาชีพนำไปใช้ในทางผิดมากครับ

- วิตามิน ดูไม่มีพิษภัยแต่ก็ไม่ใช่ขอ
งกินเล่นอยู่ดีครับ เพราะวิตามินง่ายๆอย่างวิตามินซีก็มีสิทธิ์ทำให้แสบท้องกระตุ้นกรดไหลย้อนได้ หรือการใช้กรดวิตามินเอรักษาสิวก็ทำให้ตับวายกันมานักต่อนักแล้ว การใช้วิตามินหรืออาหารเสริมถ้าให้ดีแล้วก็ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญก่อน อย่างน้อยก็เรื่องของการกินเป็นเวลานานว่าจะเกิดผลเสียใดได้บ้าง ไม่ควรวางใจว่าเป็นแค่วิตามินเลยกินขำๆไปเรื่อยๆ

- ยาทา อย่างยาแก้มดแมลงสัตว์กัดต่
อย ยาป้ายปากแก้ร้อนใน ยาแก้ผื่นคันและอีกมาก อยากบอกให้ทราบว่าแม้เป็นยาที่ดูสามัญมากอย่างคาลาไมน์ ถ้าทาเท่าไรก็ยังไม่หายขอให้กลับมาดูอีกทีว่าผู้ร้ายผื่นเราคืออะไรกันแน่ เพราะยาแก้ผื่นมีมากชนิดที่เป็น “สเตียรอยด์” ครับ การจับมาทาบ่อยๆก็ทำให้สเตียรอยด์พิษนี้ดูดซึมเข้าสู่ร่างกายไปสะสมไว้ได้ การใช้ยากลุ่มนี้นานๆก็ทำให้ผิวบางลงได้ด้วยครับ กลายเป็นยิ่งทายิ่งแย่ลง

ยาง่ายๆที่ท่านเห็นทั้ง 10 หมวดนี้ที่จริงแล้วแต่ละอย่
างเอามาเขียนตำราได้เล่มหนาๆเลยทีเดียว เพราะฉะนั้นการเอามากินง่ายๆสบายๆเข้าปากกลืนเอื้อกไปนั้นท่านอาจได้ทั้งประโยชน์เป็นกุรุสและในขณะเดียวกันก็ได้พิษเป็นกระบุงเท่ากับที่ตำราเล่มหนาๆเขียนไว้เช่นกั

จริงแล้วยาที่ยกมาไม่ใช่ยาส
ามัญเสียทีเดียว แต่ควรมีการจัดไว้เป็นหมวดให้คนทั่วไปเข้าใจด้วย ขอแนะให้จัดไว้ในหมวด “ยาใกล้ตัว” ครับเพราะคนจะเข้าใจมากกว่าบอกชื่อยายากๆยาวๆที่แค่ชื่อก็เป็นยาขมแล้ว เลยอยากให้ท่านที่รักลองค่อยๆทำความเข้าใจยาง่ายๆใกล้ตัวดู

แล้วจะรู้ว่าน่าสนใจไม่น้อย
ครับ

น.พ.กฤษดา ศิรามพุช
All Replys: 0   Pages: 1/0