Support
4life Immunity
0816516654
Your shopping cart
ดูตะกร้าสินค้าของคุณ
ไม่มีสินค้าในตะกร้าของคุณ
จำนวนครั้งที่เปิดดูสินค้า : 54192 | ความคิดเห็น: 1

แหวนหล่อเนื้อโลหะผสมทองคำ หลวงพ่ออิ่ม วัดหัวเขา สุพรรณบุรี สภาพใช้มาโชกโชนแต่ยังสวย

 เพิ่มเมื่อ: 2011-12-03 01:38:50.0
 แก้ไขล่าสุด: 2017-03-28 14:49:02.0
 เบอร์โทรติดต่อ: 0816516654
 อีเมลล์: meteekit@yahoo.co.th

รายละเอียด:
แหวนหล่อเนื้อโลหะผสมทองคำ หลวงพ่ออิ่ม วัดหัวเขา วงนี้สภาพใช้มามาก แต่ยังสวยอยู่นะครับ ดูมันส์ เห็นกระแสทองคำที่เกิดจากการผสมทองคำลงในเนื้อโลหะแล้วไม่รวมตัวกันสนิทได้โดยทั่วไปครับ
1900.00 บาท

 สินค้าที่เกี่ยวข้อง

เหรียญเทพเจ้าจีน ไท้ส่วยเอี้ย พิมพ์ใหญ่ วัดมังกรกัมลาวาส เยาวราช ปี2561 เนื้อทองแดง กรอบทองไมครอนเดิ เหรียญพระบรมรูป พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 วัดราชบพิธ ปี2538 พระพุทธชินราช สีดำ เนื้อดิน กำแพงเพชร พระกรุวังมะสะ ไม่ผ่านการใช้ ได้จากวัดออกกรุ เหรียญที่ระลึกงานเอเชียนเกมส์ ธันวาคม ปี38 ตอกโค๊ต พระครูอาทรโพธาภิรักษ์ วัดโพธินิมิตร สวยเดิมๆ ซุ้มกอ สีดำ เนื้อดิน กำแพงเพชร พระกรุวังมะสะ เจ้าของเดิมได้มาทั้งไห

แหวนหล่อเนื้อโลหะผสมทองคำ หลวงพ่ออิ่ม วัดหัวเขา

 

บูชา 900 บาท

(b155)

วงนี้สภาพใช้มามาก แต่ยังสวยอยู่นะครับ ดูมันส์ เห็นกระแสทองคำที่เกิดจากการผสมทองคำลงในเนื้อโลหะแล้วไม่รวมตัวกันสนิทได้โดยทั่วไปครับ

หลวงพ่ออิ่ม
วัดหัวเขา ตำบลหัวเขา
อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี



ประวัติ ของหลวงพ่ออิ่ม วัดหัวเขา เลือนรางมาก ทราบแต่เพียงว่าท่านเกิดเมื่อวันอาทิตย์ ปีจอ เดือน ๗ ในปลายสมัยรัชกาลที่ ๔ ตรงกับวันที่ ๑ เดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๔๐๖

อุปสมบทเมื่อประมาณ พ.ศ.๒๔๒๖ ท่านเป็นพระธุดงค์มาจากเมืองอื่น แล้วเดินทางมาปักกลดปฏิบัติธุดงควัตรอยู่บริเวณบ้านหัวเขา อำเภอเดิมบางนางบวช ซึ่งแต่เดิมเป็นป่ารกทึบ ท่านเห็นว่าอาณาบริเวณนี้มีความสงบร่มรื่นเหมาะแก่การสร้างเป็นวัด จึงได้สร้างเป็นวัดขึ้นมาชื่อว่า “วัดหัวเขา” และท่านก็ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสรูปแรก

ในการอุปสมบทครั้งแรกของ หลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่นั้น หลวงพ่ออิ่ม ก็เป็นพระคู่สวดให้ และในการอุปสมบทครั้งที่สองของหลวงพ่อมุ่ย หลวงพ่อมุ่ยท่านก็ได้ฝากตัวเป็นลูกศิษย์ของหลวงพ่ออิ่ม ประวัติกล่าวว่าหลวงพ่อมุ่ยแวะเวียนไปมาหาสู่กับหลวงพ่ออิ่มเป็นประจำ อีกทั้งยังเคยไปจำพรรษาที่วัดหัวเขาเป็นเวลา ๑ พรรษา เพื่อเรียนวิชาอาคมกับหลวงพ่ออิ่ม หลังจากนั้นก็ยังไปมาหาสู่หลวงพ่ออิ่ม และหลวงพ่ออิ่มยังพาไปศึกษาต่อกับหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่าด้วย

หลัก ฐานจากหนังสือพระราชทานเพลิงศพพระครูวรนาถรังษี หลวงพ่อปุย วัดเกาะ กล่าวด้วยว่า พ.ศ.๒๔๖๓ หลวงพ่อปุยก็เดินทางมาฝากตนเป็นศิษย์หลวงพ่ออิ่ม และอาจารย์มนัส โอภากุล เขียนไว้ในหนังสือลานโพธิ์กล่าวว่า หลวงพ่ออิ่มยกย่องหลวงพ่อปุยว่า เปรียบเสมือนบัวที่พ้นน้ำแล้ว สอนอะไรก็เข้าใจง่าย ศึกษาได้รวดเร็ว ไม่ต้องจ้ำจี้จำไชเท่าไรนัก หลวงพ่อปุยเองก็เคยเล่าให้ศิษย์ฟังเสมอๆว่า หลวงพ่ออิ่มท่านเป็นพระที่เคร่งในพระธรรมวินัยมาก ญาณสมาบัติสูงมาก


สมัย ที่หลวงพ่ออิ่มท่านได้ปกครองวัดหัวเขา ท่านพัฒนาวัดหัวเขาจนเป็นวัดที่เจริญวัดหนึ่งในสมัยนั้น และมีพระภิกษุสงฆ์เดินทางมาฝากตัวเป็นลูกศิษย์มากมาย อาทิ หลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่ , หลวงพ่อปุย วัดเกาะ , หลวงปู่แขก วัดหัวเขา และหลวงพ่อทรง วัดศาลาดิน เป็นต้น

หลวงพ่ออิ่มท่านมรณภาพเมื่อประมาณต้นปีพ.ศ.๒๔๘๐ สิริอายุ ๗๔ปี


ใน ยุคที่หลวงพ่ออิ่ม ครองวัดหัวเขา มีการสร้างเครื่องรางของขลังโบราณหลายชนิด เช่น ตะกรุดแบบต่างๆ รวมทั้งผ้ายันต์ เหรียญปั๊ม เหรียญหล่อโบราณ รูปหล่อโบราณ(นางกวัก) แหวนแบบต่างๆ พระผงใบลาน เป็นต้น
อันเป็นวัตถุ มงคลของหลวงพ่ออิ่ม เชื่อกันในหมู่ผู้บูชาตั้งแต่สมัยก่อนจวบจนปัจจุบันว่า ประสบการณ์ยอดเยี่ยม มีคุณวิเศษในด้านบันดาลความมั่งมีศรีสุข เมตตามหานิยม ไปมาค้าขายดีมาก ส่วนเรื่องอยู่ยงคงกระพันชาตรีนั้นก็เลิศ แบบแมลงวันไม่มีวันได้กินเลือด กล่าวขานกันอย่างนี้มาช้านาน ตั้งแต่สมัยเหล่าทหารเข้าร่วมรบสงครามโลกแล้ว


อิทธิวัตถุมงคลของ "หลวงพ่ออิ่ม" วัดหัวเขา จ.สุพรรณบุรี มีแพร่หลายไปในวงกว้าง พระของท่านคงจะสร้างไว้น้อย ที่รู้จักกันอย่างกว้างขวาง คือ พระหล่อโบราณ ในวงการนักนิยมพระเครื่องรางของขลังถือว่าใครมีวัตถุมงคลหลวงพ่ออิ่ม
นับได้ว่าเป็นผู้มีวาสนา ก็มีอยู่หลายพิมพ์ด้วยกัน ได้แก่ เหรียญหล่อใบเสมา ที่คุ้นหูคุ้นตาอย่างน้อย ๓ แบบ แตกต่างกันที่รายละเอียด
นอกจากนี้ยังมีนางกวัก ๒ พิมพ์ หล่อแบบโบราณ อีกพิมพ์หนึ่งเป็นพิมพ์พระพุทธรูปหล่อโบราณแบบลอยองค์ก็มี พระปิดตา แบบมหาอุด หมายถึง ปิดตาและปิดทวาร พิมพ์นางกวัก มีสร้างไว้หลายแบบ พญาเต่าเรือน นอกจากนี้ก็ยังมี แหวนพิรอด หัวพระปิดตา หัวพระพุทธ มี ๒ แบบ ทั้งหมดสร้างด้วยเนื้อโลหะแบบหล่อโบราณ

ประวัติของหลวงพ่ออิ่ม วัดหัวเขา เลือนรางมาก ทราบแต่เพียงว่าท่านเกิดเมื่อวันอาทิตย์ เดือน ๗ ปีจอ พ.ศ. ๒๔๐๖ ปลายสมัยรัชกาลที่ ๔ ตรงกับวันที่ ๑ มิถุนายน อุปสมบทเมื่อประมาณ พ.ศ.๒๔๒๖ สันนิษฐานว่าคงเป็นพระธุดงค์มาจากเมืองอื่น แล้วเดินทางไปปักกลดปฏิบัติธุดงควัตรอยู่บริเวณวัดหัวเขา ซึ่งแต่เดิมเป็นป่ารกทึบ
จากคำบอกเล่าของญาติโยม ที่เป็นคนเก่าแก่ ปลายสมัยของหลวงพ่ออิ่ม สมัยที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ (หลวงพ่ออิ่ม มรณภาพ พ.ศ.๒๔๘๐) เล่าว่า ท่านเป็นผู้สร้างวัดหัวเขา และเป็นเจ้าอาวาสรูปแรก แม้ว่าประวัติของหลวงพ่ออิ่มค่อนข้างเลือนราง แต่ก็มีเกร็ดเรื่องราวของท่านบางตอนน่าแปลกใจ เพราะปรากฏว่ามีอยู่ในหนังสือประวัติของ หลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่ จ.สุพรรณบุรี ว่าในการอุปสมบทครั้งแรกของหลวงพ่อมุ่ยนั้น หลวงพ่ออิ่ม วัดหัวเขา เป็นพระคู่สวดให้ ประมาณ พ.ศ.๒๔๕๑ แต่ไม่มีหลักฐานยืนยันแน่ชัด
หลักฐานในเหรียญที่ระลึกของ หลวงพ่อกฤษ วัดท่าช้าง ซึ่งเป็นพระอุปัชฌาย์ให้หลวงพ่อมุ่ย คราวเดียวกันกับที่หลวงพ่ออิ่ม เป็นพระคู่สวด (หลวงพ่อมุ่ย อุปสมบท ๒ ครั้ง) เหรียญที่ระลึกของหลวงพ่อกฤษ ระบุปีที่สร้าง ทำให้ทราบว่าหลวงพ่อกฤษอายุอ่อนกว่าหลวงพ่ออิ่ม ๑๕ ปี แต่แก่กว่าหลวงพ่อมุ่ย ๑๒ ปี

หลังจากการอุปสมบทครั้งที่ ๒ ของหลวงพ่อมุ่ย วงการพระเครื่องสันนิษฐานกันว่าหลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่ อาจจะเป็นลูกศิษย์ของหลวงพ่ออิ่ม เนื่องจากประวัติกล่าวว่าท่านแวะเวียนไปมาหาสู่กับหลวงพ่ออิ่มเป็นประจำ อีกทั้งยังเคยไปจำพรรษาที่วัดหัวเขาเป็นเวลา ๑ พรรษา เพื่อเรียนวิชากับหลวงพ่ออิ่ม หลังจากนั้นก็ยังไปมาหาสู่หลวงพ่ออิ่ม จนกระทั่งท่านมรณภาพเมื่อ พ.ศ.๒๔๘๐
ในยุคแรกๆ ที่หลวงพ่ออิ่ม ครองวัดหัวเขา มีการสร้างเครื่องรางของขลังโบราณหลายชนิด เช่น ตะกรุดแบบต่างๆ รวมทั้งผ้ายันต์ นอกจากที่กล่าวแล้ว ก็ยังมีเหรียญปั๊ม เกี่ยวกับเหรียญ และรูปหล่อโลหะ พอมีหลักฐานจากรูปแบบใบเสมาบ่งบอกว่าน่าจะสร้างในยุคหลัง เร็วที่สุดในสมัยรัชกาลที่ ๕ ช่วงใดช่วงหนึ่ง เพราะเหรียญใบเสมานั้นตั้งต้นสร้างรุ่นแรกของประเทศไทยในสมัยรัชกาลที่ ๕ อาจจะเป็นตอนกลางหรือตอนปลายในสมัยของพระองค์ หรือไม่ก็อาจจะเป็นการสร้างในสมัยหลังจากนั้น ช่วงใดช่วงหนึ่งก่อนท่านมรณภาพเมื่อปี ๒๔๘๐
ความก้าวหน้าในการหล่อหลอมโลหะในสมัยนั้น ส่งผลให้วงการพระเกจิอาจารย์สร้างวัตถุมงคลเนื้อโลหะแบบต่างๆ ไว้มาก และกว้างขวางออกไปรอบนอกเขตสังฆปริมณฑล แม้ว่าพระของหลวงพ่ออิ่มจะใช้วิธีการหล่อแบบโบราณ ก็ไม่ใช่เรื่องล้าสมัย น่าจะเป็นเจตนามากกว่า ส่วนเหรียญปั๊มของท่านก็พอมี ไม่นับพระเนื้อผง
พระเครื่อง เนื้อโลหะ รวมทั้งเครื่องรางของขลัง อันเป็นวัตถุมงคลของหลวงพ่ออิ่ม เชื่อกันในหมู่นักเลงพระว่าประสบการณ์ยอดเยี่ยม เหรียญหล่อโบราณใบเสมาเชื่อถือกันว่ามีคุณวิเศษในด้านบันดาลความมั่งมีศรี สุข ไปมาค้าขายดีมาก
ถ้าใครมีเหรียญใบเสมา หล่อโบราณ พิมพ์นางกวัก กับนางกวัก รูปหล่อลอยองค์ไว้บูชา ไม่มีผิดหวัง แต่ถ้าได้เหรียญหล่อโบราณ พิมพ์พระพุทธ กับพระปิดตามหาอุดลอยองค์
วัตถุประสงค์ที่หลวงพ่ออิ่มสร้างไว้ ในแง่อยู่ยงคงกระพัน แมลงวันไม่มีได้กินเลือด กล่าวขวัญกันอย่างนี้มานาน ตั้งแต่เมื่อครั้งเหล่าทหารเข้าร่วมรบเมื่อปี ๒๔๘๕
ส่วนแหวนพิรอดก็เช่นกัน แบบหัวพระปิดตา ใช้ในทางแคล้วคลาด และคงกระพันชาตรี แต่หัวพระพุทธนั้นมีประสบการณ์ด้านเมตตาบารมี เสน่ห์ของวัตถุมงคล เนื้อทองเหลือง ทุกแบบของหลวงพ่ออิ่ม อยู่ที่ความเข้มขลัง ประกอบกับการหล่อแบบโบราณ ทำให้เนื้อโลหะขรุขระเหมือนของเก่า ยิ่งดูยิ่งเข้าตา บางท่านถือว่าเป็นการหล่อที่ต้องตำรับการสร้างอย่างพราหมณาจารย์โบราณ ที่จะต้องมีพิธีปลุกเสกตามหลักอาถรรพเวท จากคัมภีร์พราหมณ์ เมื่อผ่านการปลุกเสกแล้ว เทพยดาและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายจะได้มาสถิตประสิทธิ์ผลแก่ผู้บูชาในอิทธิ วัตถุดังกล่าว การสร้างพระเครื่องรางและวัตถุมงคล ด้วยเนื้อโลหะ เป็นที่นิยมในเหล่าพระเกจิอาจารย์ร่วมสมัยหลายท่าน ซึ่งต่างก็มีชื่อเสียงโด่งดัง เช่น หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า จ.ชัยนาท หลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่ แต่ของ หลวงพ่ออิ่ม วัดหัวเขา แม้ว่าวัตถุมงคลเนื้อทองเหลืองของท่าน จะสร้างไว้น้อยกว่าพระเกจิอาจารย์ท่านอื่นๆ แต่กิตติศัพท์ในคุณวิเศษหาได้ยิ่งหย่อนเลยแม้แต่น้อย

guest
ชื่อ
Email
เบอร์โทรศัพท์